Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
(สัปดาห์ที่ 16)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 22 เมษายน พ.. 2558 (วันพุธ)
เนื้อหา 1.การสอบสอนศิลปะสร้างสรรค์ (งานกลุ่ม)
บทบาทเด็กปฐมวัยโดยการสร้างชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม
การสอนศิลปะสรุปได้ดังนี้
(ชี้แนะการสอน-เตรียมความพร้อม)
- แบ่งโต๊ะ / ให้พอดีกับกลุ่มเด็ก
- จัดโต๊ะแล้วเตรียมอุปกรณ์
(ขั้นนำ-ขั้นสอน)
- นันทนาการเด็กด้วยเพลงจับกลุ่ม (เวลาไม่ควรเกิน3นาที)
- ให้เด็กนั่งแถวตอน และเก็บเด็กให้สงบก่อนจะอธิบาย
- เขียนกระดาษ(อาจเขียนไว้แล้ว) และบอกกิจกรรมในวันนี้
- ชี้แจงอุปกรณ์แต่ละงาน (กิจกรรมพื้นฐานบอกคร่าวๆว่าทำอย่างไรเพราะเด็กรู้แล้ว)
- ชี้แจงกิจกรรมพิเศษ และสาธิตการทำคร่าวๆพอสมควรแก่เวลา
- ให้เด็กแต่ละกลุ่มไปทำอย่างอิสระโดยครูคอยดูกระบวนการทำงานของเด็ก
- เสร็จกิจกรรมใดให้นำมาส่งครูและบอกชื่อผลงานตนเองโดยครูจะเขียนใต้ภาพ
(ขั้นสรุป- นำเสนอผลงาน)
- ขออาสาสมัคร หรือเรียกตัวแทนงานแต่ละชิ้นออกมาอธิบายหน้าห้อง

            การสอน
กลุ่ม 1 หน่วยยานพาหนะ

กลุ่ม 2 หน่วยสัตว์

กลุ่ม 3 หน่วยข้าว

กลุ่ม 4 หน่วยธรรมชาติรอบตัว

กลุ่ม 5 หน่วยกล้วย


ข้อเสนอแนะ-การสะท้อนหลังการสอนของแต่ละกลุ่มจากอาจารย์
๐ ถ้ากิจกรรมเยอะยากใช้เวลานาน ให้ลดกิจกรรมได้เหลือ3 แต่ละวันอาจปรับไม่เท่ากัน
๐ การสอนดี นำด้วยเพลงเร้าความสนใจ กิจกรรมที่จะสอนต้องน่าสนใจด้วย
๐ การแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มอาจเล่นเกม เช่น ให้ต่อนับไปเรื่อยๆ กล้วยหอม กล้วยไข่ ฯลฯ ใครนับชนิดเดียวกันให้อยู่ด้วยกัน
๐ การสอนต้องอธิบายแล้วสาธิตให้ดูด้วยในกิจกรรมพิเศษ
๐ เมื่อเด็กเสร็จนำงานมาส่ง ควรใช้คำถามกระตุ้น ไหนลองเล่าให้ครูฟังซิว่า ภาพที่หนูวาดเกี่ยวกับอะไร ถ้าเด็กเล่าเยอะไม่มีเวลาพอให้ครูเขียนสรุปๆ แต่ถ้าเด็กเล่าสั้นให้กระตุ้น
๐ การเก็บอุปกรณ์แล้วแต่โรงเรียนว่าจะเก็บก่อนหรือนำเสนอก่อน
๐ การนำเสนอ ขออาสาสมัคร เลือกเจาะจงเด็ก หรือเลือกจากผลงานที่สะดุดตาก็ได้
๐ การเขียนแผน ขั้นนำ ถ้ามีเพลงสามารถเขียนใส่ไปได้
๐ การเขียน ต้องเขียนคำศัพท์ให้ถูกต้องตามคำเรียกทางการ
๐ การเขียนคำอธิบายผลงานเด็กให้ใช้ปากกาเมจิกเขียนให้ชัดเจน ถ้าเขียนไม่ทันในเวลาให้เก็บไว้ก่อนแล้วเขียนที่หลังหรือให้เด็กเข้าแถวรอให้เป็นระเบียบ
๐ การแบ่งกลุ่มถ้ากิจกรรมใดใช้เวลาเยอะอาจต้องมีโต๊ะเพิ่ม
๐ พื้นที่การโชว์ผลงาน ทำได้ทั้ง แปะ วาง แขวน หรือ หนีบ ให้แห้งในงานสีน้ำ แต่มีผ้ายางปูรองด้านล่าง
๐ การวาดต้องสอนเด็กว่าจุ่มสีแล้วปาดที่ปากแก้ว ไม่ให้เยิ้ม
๐ กิจกรรมพิเศษครูควรเดินดูและอยู่ใกล้ๆเด็กตรงนั้นมากเป็นพิเศษให้เด็กทำได้ก่อนแล้วจึงไปโต๊ะอื่น
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. นำคำแนะนำของอาจารย์เรื่องขั้นนำ ที่นำด้วยเพลงข้างต้นอย่าให้นานมากเพราะทำให้กิจกรรมต้องยืดเวลา และ จดจำเทคนิคข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปใช้ตอนไปสังเกตการณ์สอนเร็วๆนี้
2. นำกิจกรรมต่างๆของเพื่อนๆไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ประเมินผล
ประเมินตนเอง: มีการเตรียมตัวที่จะสอนมาในระดับหนึ่งทั้งปรึกษาหารือกับเพื่อนในกลุ่มว่าจะเอาเรื่องอะไรดีและได้ช่วยกันเตรียมอุปกรณ์รวมทั้งแบ่งหน้าที่ต่างๆ โดยดิฉันได้รับมอบหมายในการสอน พอสอนจริงๆก็ลืมเล็กน้อย คิดว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร และค่อนข้างจะติดเล่นไปหน่อยซึ่งสอนไปขำไป ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าจะต้องทำให้ดีกว่าเดิม
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ส่วนเรื่องการสอนหลายคนก็ทำได้ดีมากๆบางคนมีเทคนิค ใช้น้ำเสียงที่ไพเราะเหมือนการเล่านิทาน บางคนก็พยายามใช้เพลงเป็นสิ่งเร้าความสนใจก่อนเข้าสู่การทำศิลปะ และในหน้าที่บทบาทการเป็นครูก็ทำตามที่อาจารย์แนะนำเดินดูการทำงานของเด็กๆได้ถูกต้อง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์คอยชี้แนะแนวทางขั้นต้นก่อนที่พวกเราจะสอนก็คอยบอกขั้นตอนอยู่เสมอ ถ้าเป็นท่านอื่น สอบ คือ สอบ! อาจจะดุกว่านี้ ทำให้บรรยากาศตึงเครียด แต่เรียนกับอาจารย์กับทำให้รู้สึกสนุกและมีความเป็นกันเองมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น