บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
(สัปดาห์ที่ 13)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558 (วันจันทร์)
หมายเหตุ: เรียนวันนี้
เพราะขอเวลาอาจารย์เบียร์จากวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม
เนื้อหา 1. เรียนการเขียนแผนจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
- หลักสูตร
โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ประกอบด้วย
ประสบการณ์สำคัญ สาระที่ควรเรียนรู้
- ด้านร่างกาย -
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- ด้านอารมณ์ - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลสถานที่แวดล้อม
- ด้านสังคม -
เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก
- ด้านสติปัญญา - เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
- หลักการเขียนแผนประสบการณ์
การเขียนแผนศิลปะจะมุ่งปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ และด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีประสบการณ์สำคัญที่เกี่ยวของ ดังนี้
- จุดประสงค์การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
- หลักการเขียนแผนประสบการณ์
การเขียนแผนศิลปะจะมุ่งปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ และด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีประสบการณ์สำคัญที่เกี่ยวของ ดังนี้
ประสบการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ |
1.เพื่อให้ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
2.นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในกิจวัตรประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
- การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
1.ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี
2546 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์สิ่งต่อไปนี้
- มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- ตัวบ่งชี้
- สภาพที่พึงประสงค์ในเด็กอายุ 0 - 3 ปี และ 3
- 5 ปี
3.วิเคราะห์สาระการเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
4.กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
5.เขียนแผนการจัดประสบการณ์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่
1 เลือกเรื่อง ดูจากความสนใจของเด็ก สิ่งที่เด็กควรรู้
ขั้นที่
2 ระดมความคิด แตกความคิดออกมาเป็นแม็บ
ขั้นที่
3 คิดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกิจกรรมหลัก
ขั้นที่
4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
ขั้นที่
5 จัดทำแผนประสบการณ์ วางแผนกิจกรรมและทำบันทึกการสอน
แนวทางการประเมิน
รูปแบบการเขียนแผน ทั้ง 3 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 2
รูปแบบที่ 3
- ประเมินทั้งความรู้ ความคิด
ความสามารถ และทักษะกระบวนการ เจตคติ คุณธรรมจริยธรรม
ค่านิยมและโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิธีวัดประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
- ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา
ประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
- การประเมินต้อนำไปสู่การแปรผลและสรุปผลที่สมเหตุสมผล
- มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น