Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
(สัปดาห์ที่ 4)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 28 มกราคม พ.. 2558
หมายเหตุ: วันที่ 29 .. 2558 *ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ
            เนื้อหา 1. เรียนทฤษฎี หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์

กิจกรรม คือ สิ่งที่จัดให้เด็ก
ประสบการณ์ คือ สิ่งที่เด็กได้รับ ได้เรียนรู้และเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ
             กิจกรรมศิลปะบางอย่างไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องได้พัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน เพราะแต่ละกิจกรรมสามารถบูรณาการร่วมกันได้จนเด็กได้พัฒนาการครบทุกด้าน
            ในการทำกิจกรรมสามารถให้ผู้ปกครองมาร่วมด้วยได้เพื่อจะได้ทราบประสบการณ์ที่เด็กได้รับและเห็นพัฒนาการของเด็ก
            ศิลปะ ไม่ว่าเราจะเลือกอะไรไม่ใช่สิ่งที่ผิด บางคนมีสิ่งที่ยึดถือต่างกัน อาจทำเพราะรัก เพราะเงิน เพราะโชคลาภ ขึ้นอยู่กับมุมมองแต่ละคน เหมือนกับผลงานศิลปะทุกอย่างอยู่ที่การสื่อความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการมองที่ละเอียดและความคิดแต่ละคน
       (  .  ) จากภาพจุดๆเดียวขึ้นอยู่กับการมองว่าเรามองเห็นด้านไหนก่อนกัน บางครั้งเราอย่ามองเด็กเฉพาะจุดด้อยแต่ต้องมองข้อดีด้วย
ความสำคัญ ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพราะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย และเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องทำทุกวัน ซึ่งเด็กจะได้ประสบการณ์ดังนี้
            1.ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ   ค้นพบสิ่งต่างๆ
            2.ด้านวัสดุอุปกรณ์   ได้รู้จักเครื่องมือในการทำศิลปะ
            3.ด้านความรู้สึกและใช้ประสาทสัมผัส   เล่าถ่ายทอดประสบการณ์เดิมหรือสัมผัสสิ่งของ
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงที่ส่งเสริมให้เด็กเผชิญกับความเป็นจริงในเหตุการณ์ต่างๆ
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะ  การสอนศิลปะไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่งแต่ต้องปลูกฝังความดีงาม ความละเอียดอ่อน เพื่อเตรียมความในระดับต่อไป ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก ดังต่อไปนี้ฝึกทักษะการใช้มือและการเตรียมความพร้อมผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถแต่ละคน
- ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งบุคลิกภาพ
- ปลูกฝังค่านิยมความเป็นไทย เช่น ปั้นผลไม้ไทย ขนมไทย ฯลฯ
- ฝึกให้เด็กเรียนรู้การใช้เครื่องมือศิลปะ การเก็บรักษา และทำความสะอาด
- ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
- เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- นำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทบาทครูศิลปะ คือ บุคคลสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ       เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน     
- เป็นผู้ดูแลเด็ก    เป็นต้นแบบที่ดี 
- เป็นผู้อำนวยความสะดวก  สอนด้วยรักและเอาใจใส่
- ยอมรับความสามารถของเด็ก   เปิดโอกาสให้อิสระแก่เด็ก
- ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก   กระตุ้นยั่วยุ ท้าทายให้เด็กกล้าแสดงออก
- มีการวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์และกิจกรรมล่วงหน้าให้กับเด็ก
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะ
- หลีกเลี่ยงการให้แบบให้เด็กได้คิดด้วยตนเอง
- ช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองแก่เด็ก ให้เกิดความภูมิใจ
- ไม่บังคับกวดขันเอาความหมายจากภาพ
- ไม่แก้ไขช่วยเด็กทำผลงาน และไม่วิจารณ์ผลงานในทางไม่ดี
การเตรียมการสอนศิลปะ
- ต้องสร้างข้อตกลงระเบียบการใช้อุปกรณ์
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อเด็ก
- วางอุปกรณ์ให้สะดวกต่อการใช้งาน
- เตรียมเครื่องมือที่สำหรับทำความสะอาดเมื่อเสร็จกิจกรรม
- เตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม
- มีที่จัดเก็บและแสดงผลงาน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะ
1.เลือกเรื่องที่จะสอน
2.กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนว่าเด็กจะได้อะไร
3.เตรียมการก่อนสอน เตรียมแผนการสอน สื่ออุปกรณ์ เป็นต้น
4.ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้จริง
5.ทำการสอนจริงตามแผน
6.เตรียมเด็กให้พร้อมก่อนจะทำผลงาน เช่น แบ่งกลุ่ม เป็นต้น
7.เมื่อเด็กทำงาน ครูต้องคอยอำนวยความสะดวก ดูแล ช่วยเหลือ และบันทึกข้อมูล
8.เก็บรักษาและทำความสะอาด
9.ประเมินผลงาน
เทคนิควิธีสอนศิลปะ
- เข้าถึง   เข้าใจ  ให้ความรัก  สร้างบรรยากาศ  มีวินัย  ปลอดภัย
- เปิดโอกาสให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์   ฝึกหัด  เรียนรู้วางแผนแก้ปัญหา  แสดงออก  เรียนปนเล่น  สนับสนุนความดีงาม
            เนื้อหา 2. ใบงาน สร้างสรรค์ลายเส้น / วาดโครงร่างที่ชอบ-ต่อเติมลาย / ต่อเติมครึ่งวงกลม
Review
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษให้วาดภาพอย่างสร้างสรรค์
2. อธิบายงานรวมทั้งมีตัวอย่างที่หลากหลายให้ดู
3. ให้กลับไปสร้างสรรค์ผลงาน
กระบวนการขั้นตอนและผลงานที่สำเร็จ
ต่อเติมครึ่งวงกลม
การวาดลวดลายโดยแต่ละช่องไม่ซ้ำแบบกัน

การวาดโครงร่างสิ่งที่ชอบและเติมลวดลายจากภาพด้านบนลงบนภาพ
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. เพื่อฝึกและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
2. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
3. ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ให้ระบายสีออกนอกกรอบ
4.ได้ใช้จินตนาการและคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
5.คิดนอกกรอบและมีการแก้ปัญหา เช่น การคิดลายไม่ให้ซ้ำกัน ก็สามรถต่อเติมเส้นกับรูปร่างต่างๆรวมกันจนเกิดลายใหม่
6.ชื่นชมผลงานและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงาน
ความรู้ที่ได้รับ
1. ภาพครึ่งวงกลม ส่วนมากทุกคนจะทำเป็นรูปสิ่งมีชีวิตถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกคุ้นเคยหรือจากสิ่งที่ชอบ ส่วนมากจะต่อเติมเป็นวงกลม ถ้าใช้กับเด็กเล็กสามารถใช้เป็นลักษณะเส้นอื่นๆได้
2. ภาพเส้น การที่ได้ออกแบบเส้นหมายถึงการออกแบบสิ่งที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ยิ่งช่องเยอะยิ่งทำให้เราคิดกว้าง ซึ่งการทำไม่มีผิด ไม่มีถูก  ขึ้นอยู่กับบุคคล ที่จะสื่อสารออกมา ซึ่งเราต้องถามคนวาด เพราะอาจจะเห็นต่างกัน
3. ภาพวาดโครงร่าง  ในความเป็นศิลปะ สามรถใช้เส้นต่างๆต่อเติมให้เหนือคามจริงได้ ยิ่งต่อเติมภาพจินตนาการ เหมือนได้สร้างจินตนาการขึ้นมาเรื่อยๆและเป็นความคิดที่นอกกรอบ
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. นำใบงานหรือกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
2. สอนเด็กเรื่องเส้นต่างๆได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอน และไม่คุยขณะเรียน แต่งกายสุภาพ มีสัมมาคารวะต่ออาจารย์
ประเมินเพื่อน: มีเพื่อนเข้าห้องเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ  มีบางส่วนเท่านั้นผิดระเบียบสม่ำเสมอ
ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพสีโทนเดียวกันดูดีเคร่งขรึม เตรียมอุปกรณ์การเรียนต่างๆและยกมาให้นักศึกษา เลยทำให้รู้สึกผิดเลยที่ไม่ได้ไปช่วยอาจารย์ยกของ การสอนอาจารย์สอนเนื้อหาที่ละเอียดมากและ เรื่องกว้างๆเกี่ยวกับศิลปะ ก่อนที่จะลึกซึ้งไปถึงศิลปะเด็กปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น