บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2
(สัปดาห์ที่ 3)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 21,22 มกราคม พ.ศ. 2558
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษให้วาดภาพสร้างสรรค์โดยใช้มือ
2. ครูสาธิตโดยวาดมือให้ดูบนกระดานและอธิบายการลงสีโดยให้ลงช่องละ1สีในเส้นที่ตัดกัน และส่วนพื้นหลังทั้งหมดลงสีเดียวกัน
3. กำหนดเวลาให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ
4. ตั้งชื่อผลงานและให้นำผลงานมาติดหน้าห้องโดยมีครูช่วยติด
5. แกะผลงานที่ติดบนกระดานออก และนำมาตัดตามกรอบสี่เหลี่ยม
6. ให้เด็กนำผลงานมาติดบนบอร์ดเดียวกัน กลายเป็นศิลปะแบบร่วมมือ
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. เพื่อฝึกและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
2. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
3. เรียนรู้เรื่องการตัดกันของเส้นและสี
4. ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ให้ระบายสีออกนอกกรอบ
ความรู้ที่ได้รับ
1. เป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการได้ทุกหน่วย
2. สามารถสร้างสรรค์ผลงานในหน่วยร่างกายได้ เช่น วันนี้เรียนรู้เรื่องการใช้มือ
3. เวลาให้เด็กทำอาจเริ่มจากเส้นง่ายๆหรือรูปทรงเลขาคณิต
4. สามารถนำศิลปะแบบเดี่ยว มาเป็นศิลปะแบบร่วมมือได้
5. การติดผลงานเด็กถือเป็นการชื่นชมผลงานเด็กก่อนที่จะนำมาเก็บใส่แฟ้ม
6. การจัดบอร์ดศิลปะสามารถให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของศิลปะ
ศิลปะ ในอดีต หมายถึง งานช่างฝีมือที่มีความประณีต วิจิตรบรรจง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น แบ่งออกได้ 3ประเภท คือ จิตรกรรม ประติมากรรม
และสถาปัตยกรรม
ดังนั้น ศิลปะ
จึงหมายถึง ความงาม(ทั้งทางกายและใจ) รูปทรง และการแสดงออกที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและตอบสนองความพึงพอใจ
ศิลปะสำหรับเด็ก
จึงหมายความได้ว่า เป็นสิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต เป็นสิ่งที่มองเห็นได้แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง
ไม่ใช่เพียงแค่วาดรูประบายสีหรือประดิษฐ์แต่หมายถึงการแสดงออก สื่อสาร
ถ่ายทอดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนด้วย
ปรัชญาศิลปะ
เป็นสิ่งที่ผู้สอนศิลปะให้เด็ก ควรยึดถือ ดังนี้
- สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
- เป็นผู้นำทางการแสดงออกและมีความคิดสร้างสรรค์
- ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานของเด็ก
- มีความไวรับรู้ด้านอารมณ์
ความคิด จากสิ่งที่มองเห็น
- เน้นความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงานโดยให้เด็กถ่ายทอด
- สนับสนุนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ความสำคัญของศิลปะเด็กปฐมวัย
1. ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย สิ่งที่เด็กชอบ สิ่งที่เด็กคิด
ซึ่งผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้กำลังใจ
2. เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
3. ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้
จากกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและสิ่งแวดล้อม
4. ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล เช่น เด็กพิเศษ
5. ช่วยเสริมสร้างกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
1.ทฤษฎีพัฒนาการ
2. ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- โครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ได้เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา ซึ่งว่าด้วยเรื่องความสามารถทางสมองทั้ง3มิติ >1เนื้อหา
/2วิธีคิด/3ผลของการคิด ที่แตกต่างกันถึง120ความสามารถ และการรวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดแบบอเนกนัย
เป็นการคิดหลายทิศทางนำไปสู่การริเริ่มคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรม
- ความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์(Torrance) แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และแบ่งลำดับความคิดเป็น5 ขั้น 1ค้นพบความจริง 2ค้นพบปัญหา
3ตั้งสมมุติฐาน 4ค้นพบคำตอบ 5ยอมรับผลการค้นพบ ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้คล้ายกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทอแรนซ์ จึงเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ เป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจ
นักการศึกษาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ทั้ง2ซีกอย่างเท่าเทียมกัน ซีกซ้าย(ความมีเหตุผล)พัฒนาในช่วง9-12ปี , ซีกขวา(คิดสร้างสรรค์จินตนาการ)
พัฒนาในช่วง 4-7ปี สามรถจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมบูรณาการ
เรียนรู้แบบ4MAT และทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ เป็นปัญญาในตัวบุคคลเฉพาะด้าน
ซึ่งทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9ด้าน
มากหรือน้อยต่างกันไป ปัญญาแต่ละด้านสามรถทำงานร่วมกันได้และมีความสามารถหลายอย่าง
- ทฤษฎีโอตา(AUTA) เดวิสและซัลลิแวน
กล่าวว่าความคิดของมนุษย์สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ เขาได้แบ่งขั้นพัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น คือ 1การตระหนัก 2ความเข้าใจ
3เทคนิควิธี 4ตะหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
พัฒนาการทางศิลปะ
วงจรของการขีดๆเขียนๆ เคลล็อก(Kellogg) ศึกษาการขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย 4 ขั้นตอนดังนี้
1.การขีดเขี่ย (2 ขวบ) เขียนตามธรรมชาติ
ขีดเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง ยุกๆยิกๆ ควบคุมไม่ได้
2.การเขียนเป็นรูปร่าง(3ขวบ) เริ่มเป็นรูปร่าง
เขียนวงกลมได้แต่ยังไม่กลมมากนักควบคุมมือกับตาได้สัมพันธ์มากขึ้น
3.การเขียนวงกลมได้(4ขวบ)
ขีดเขียนรูปร่างเข้าด้วยกันได้วาดสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมได้
4.การวาดแสดงเป็นภาพ(5ขวบขึ้นไป) เริ่มแยกแยะวัตถุได้
รับรู้ความเป็นจริง ควบคุมการเขียนได้ดี
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1.สามารถจัดประสบการณ์ให้ตรงกับพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงอายุ
2.สามารถนำทฤษฎีของทอแรนซ์ไปใช้ คือ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจนแก้ปัญหาได้ หรือครูเป็นผู้กระตุ้นโดยใช้คำถามให้เด็กเกิดความคิดทั้ง 3 องค์ประกอบ
3.เมื่อเป็นครูในอนาคตจะใช้การสอนศิลปะแบบบูรณาการและดูกระบวนการทำงานของเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมและตั้งใจเรียน ในกิจกรรมวาดรูปมือ รู้สึกงง กับการระบายสีบ้าง และมีระบายช่องผิดในบางช่อง แต่ก็ภูมิใจกับผลงานและสิ่งที่ออกมา มีสีสันไปอีกแบบ และรู้สึกดีที่อาจารย์เดินมาดูคอยแนะนำ กิจกรรมนี้คิดว่าถ้าให้เด็กทำ เด็กก็คงจะชอบ / ในวันถัดมาที่เรียนทฤษฎีก็เตรียมพร้อม ปริ้นเอกสารสำหรับเรียนมา ตั้งใจจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์อธิบายเพื่อให้จำได้ดี แต่ก็รู้สึกง่วงเล็กน้อยเนื่องจากเมื่อคืนอาจนอนดึกเกินไป
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจทำงาน มีความตื่นเต้น สนใจ ถ่ายรูปเก็บผลงานกันมากมาย ขณะที่ทำงานก็ต่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ถามกัน ส่วนในวันที่เรียนทฤษฎี ทุกคนก็จะโต้ตอบแซวอาจารย์กันอย่างสนุกสนานเหมือนเดิม แต่เหมือนจะเร่งรีบและอยากให้อาจารย์ปล่อยเร็วๆ การแต่งกายเพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ มีบางคนเท่านั้นที่ใส่ชุดไม่ตรงตามข้อตกลง
ประเมินอาจารย์: มีการเตรียมกิจกรรม อุปกรณ์ต่างๆให้นักศึกษา ใช้เงินส่วนตัวถ่ายเอกสารใบงานมาให้ และสาธิตแจกแจงงานอย่างละเอียดดีค่ะ คอยเล่นมุกตลกอยู่ตลอดเวลา นักศึกษาไม่ขำก็เล่น 5555555 คอยสอดแทรกความหมายดีๆในการเรียนการสอน มีความหวังกับนักศึกษาเรื่องการเรียนและ เตรียมเนื้อหามาสอนแน่นมากๆๆๆค่ะ แม้จะง่วงแต่ก็ได้รื้อฟื้นเนื้อหาการเรียนวิชาศิลปะอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น