Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่่ 4

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
(สัปดาห์ที่ 5)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 4 , 5 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
            เนื้อหา 1. เรียน เรื่องวัสดุ อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป มีขายอยู่ทั่วไป เป็นวัสดุธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น
วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ มีดังนี้
-     กระดาษ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้เด็กมากที่สุดสามารถนำมาใช้ในงานศิลปะได้อย่างกว้างขวาง ครูควรคำนึงถึงกระดาษที่นำมาใช้กับเด็กที่ไม่มีราคาแพงจนเกินไป
1.กระดาษวาดเขียน มีความหนาไม่เท่ากัน เรียกว่าปอนด์ ขนาด 60 70 80 จะใช้ได้ดีกับงานวาดรูป
2.กระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษสี มีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า มีทั้งหนาและบาง กระดาษหน้าเดียวสำหรับฉีกปะ กระดาษสองหน้าสำหรับ งานพับ ตัด เป็นต้น
3.กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมันหนา ด้านหลังเป็นสีขาว เหมาะกับการฉีก พับ ตัด ปะ
4.กระดาษนิตยสาร เป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับเด็ก หาได้ง่ายจากคนทั่วไปชอบสะสมไว้
5.กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้งานได้หลากหลาย ประดิษฐ์หุ่นตัวใหญ่ๆหรือนำมารองกันเปื้อนขณะทำงานศิลปะ
-     สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจเด็กเป็นอย่างมาก สีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภท
1.สีเทียน คือ สีที่ผสมกับขี้ผึ้งแล้วทำเป็นแท่ง เมื่อนำมาใช้จะเป็นสีอ่อนๆใสเหมือนเทียนไข จะเกาะกระดาษหนามีคุณสมบัติกันน้ำ ควรเลือกใช้แบบที่มีเนื้อสีที่มากกว่า และควรเป็นแท่งโตสำหรับเด็กเล็กเพื่อจับถนัดมือ การเลือกซื้อแบบไม่มีสีขาวเลยจะดีเพราะเด็กใช้น้อย
2.สีชอล์กเทียน เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา สีสดใส เนื้อนุ่ม หนา เมื่อระบายอาจใช้เล็บ ทิชชู เกลี่ยให้เข้ากันเพื่อความสวยงามได้เหมาะสำหรับเด็กโตมากว่าเด็กเล็ก
3.สีเทียนพลาสติก ทำจากสีและพลาสติกผสม มีเนื้อละเอียด เหลาได้เหมือนดินสอ สามารถลบได้ แต่มีราคาแพงมาก
4.สีเมจิก บรรจุด้ามคล้ายปากกามีทั้งปลายแหลม ปลายตัด เหมาะสำหรับเขียนลายเส้น ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่จะใช้ระบายที่กว้าง
5.ปากกาปลายสักหลาด บางครั้งเรียกปากกาเคมี แต่มี่ลักษณะใหญ่กว่า สีสดใสมาก ไม่เหมาะระบายที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆสีจะซีดเร็ว
6.ดินสอ เด็กส่วนมากใช้ในการวาดรูป แต่ดินสอไม่เหมาะกับเด็กต่ำกว่า7ปี เพราะธรรมชาติของเด็กจะหายไป ควรใช้สีวาดเนื่องจากจะจินตนาการให้เหมือนของจริงมากกว่าการเห็นดินสอสีดำๆ
7.ดินสอสีหรือสีไม้ มีลักษณะเดียวกับดินสอ เหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก ทู่ง่าย หักง่าย ทำให้ต้องเหลาบ่อยๆและมีราคาแพงกว่าสีเทียนกับสีน้ำ
8.สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
-  สีฝุ่น   -  สีโปสเตอร์  -  สีผสมอาหาร  -  สีน้ำ  -  สีพลาสติก
9.สีจากธรรมชาติ  เป็นสีที่ได้จากผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ  ไม่มีสารเคมีที่อันตรายต่อเด็ก
-     วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะและวัสดุอื่นๆ
- กาว ที่เหมาะกับเด็กมากที่สุดคือ แป้งเปียก และกาวน้ำ
- ดินเหนียว  คือ ดินธรรมชาติในต่างจังหวัด สามรถระบายสีได้
- ดินน้ำมัน คือ ดินที่มีส่วนของน้ำมันผสมอยู่และมีกลิ่นแรง ติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
- ดินวิทยาศาสตร์ (แป้งโด)มีลักษณะนิ่ม สีสวย ไม่เหนียวเหนอะหนะ จึงเหมาะกับเด็ก
ฟองน้ำ/เชือก/เส้นพาสต้า/ทราย/เศษผ้า/เปลือกหอย/แกนทิชชู/ขวดน้ำ/เมล็ดพืช/ไม้ไอติม เป็นต้น
อุปกรณ์ คือ สิ่งที่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้ได้อีกหลายๆครั้ง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ที่ใช้แล้วไม่สิ้นเปลืองแต่มีอายุการใช้งานและคุณภาพของสิ่งนั้นๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
    ๐สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น ทำให้มีมิติ มีชีวิตชีวา
     ๐สีเป็นวัตถุได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
-  สีจากธรรมชาติ เช่นสีดอกไม้ สีใบไม้ ผลไม้ เป็นต้น
-  สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา  เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน
            เนื้อหา 2. ใบงานสร้างสรรค์ศิลปะจากเส้นและสีโดยต่อเติมเส้นจากจุด
สิ่งไม่มีชีวิต
สิ่งมีชีวิต
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษและอุปกรณ์ต่างๆให้วาดภาพอย่างสร้างสรรค์
2. ครูสาธิตและอธิบายงานรวมทั้งมีตัวอย่างให้ดู
3. ขณะทำกิจกรรมเดินดูผลงานเด็กตลอดเวลา
4.การแสดงผลงานเป็นศิลปะรวมกลุ่ม 
การแสดงผลงาน
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
2. ฝึกการใช้จินตนาการและคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
3. ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและความรู้ใหม่
4. พัฒนาอารมณ์การแสดงออกและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงาน
5. ได้ชื่นชมผลงานตนเองและผู้อื่น
ความรู้ที่ได้รับ
1. ภาพสิ่งไม่มีชีวิต การลากต่อเส้น ทางศิลปะสามารถต่อเติมได้ให้เหนือความเป็นจริง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น รูปร่างรูปทรงรูปภาพไม่สามารถเป็นเหลี่ยมได้ แต่เส้นสามารถถ่ายทอดออกมาให้คล้ายของจริงได้
2. ภาพสิ่งมีชีวิต  การลากต่อเส้นภาพสิ่งมีชีวิต เป็นการเปิดกว้างอิสระทางความคิด สามารถผสมผสานภาพ ให้เป็นเรื่องราวได้ ไม่มีถูกไม่มีผิด บางภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงก็สามรถคล้ายและเป็นเรื่องราวได้
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ราคาไม่แพงมาใช้กับเด็ก
2. เก็บเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อได้ 
3. นำใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน หรือเทคนิคของอาจารย์ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคต
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนตอบคำถามเรื่องประเภทของวัสดุอุปกรณ์ เมื่อทำกิจกรรมก็ตั้งใจทำงานวาดภาพออกมาให้สวยและลงสีอย่างตั้งใจ จึงทำให้เสร็จช้า แต่ก็ภูมิใจในผลงานตัวเองมากๆ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียนมีคุยกันนอกเรื่องที่อาจารย์สอนบ้าง เข้าห้องเรียนช้า แต่ก็มีน้ำใจช่วยอาจารย์ยกของและอุปกรณ์ เพื่อนแต่ละคนมีการปฏิสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน เช่น ติดผลงานให้เพื่อนในขณะที่เพื่อนยังทำไม่เสร็จในบางชิ้นไม่เสร็จ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์พูดแซวนักศึกษาเป็นกันเอง เมื่อถูกแซวก็ไม่เคยโกรธหรือแสดงอาการไม่พอใจ อาจารย์มีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ของจริงมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ใช้ถูกต้อง ซื้อวัสดุฝึกที่มีราคาแพงและคงทนเหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอนและยังคิดกิจกรรมที่จะให้นักศึกษาได้ทำในสัปดาห์หน้าตลอดเวลาทำให้เห็นถึงการจัดสรรสิ่งต่างๆในการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น