บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1
(สัปดาห์ที่ 1 และ
2)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์
ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 7,14,15 มกราคม พ.ศ. 2558
หมายเหตุ: วันที่
8 ม.ค. 2558
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ
เนื้อหา 1.การปฐมนิเทศ แนะนำการเรียนการสอน
สิ่งที่ต้องเรียนในวิชานี้
คือ ความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การเลือกสื่อ
การเก็บผลงาน นำเสนอผลงานแบบไฮสโคป การเขียนแผนจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
และประเมินพัฒนาการ ฯลฯ
ชี้แจง :
1. บันทึกการเรียนทุกครั้งลงBlogger สม่ำเสมอ ครั้งละ 1 คะแนน
2. การสอบปลายภาค จะมีการเขียนแผนและสอบสอน
3. งานส่วนมากจะมีทั้งกลุ่ม/เดี่ยว เช่น
การประดิษฐ์ผลงาน
ข้อตกลง :
1. แต่งกายให้เรียบร้อยข้อสรุป คือ >วันพุธใส่เสื้อสีชมพู วันพฤหัสใส่ชุดพละ
1. แต่งกายให้เรียบร้อยข้อสรุป คือ >วันพุธใส่เสื้อสีชมพู วันพฤหัสใส่ชุดพละ
2. รักษาวินัย กริยา มารยาท อย่างเคร่งครัดในเรื่องของการตรงต่อเวลา
3. บัตรปั้ม ตรงต่อเวลา ปั้มไก่ / มาสาย ปั้มเสือ /
แต่งกายไม่ถูกระเบียบ ปั้มแกะ / เด็กดี ปั้มดาว
4. งานกลุ่มต้องปฏิบัติตาม (เวลากิจกรรมปฏิบัตินำผ้ากันเปื้อนมาด้วย)
เนื้อหา 2. เรื่อง การดู VDO ด.เด็ก ช.ช้าง
สิ่งสะท้อนจาก VDO : จากการดูวีดีโอ เริ่มแรกครูสั่งงานโดยไม่อธิบาย
เขียนบนกระดานเพียงอย่างเดียว ไม่เดินดูเวลาเด็กทำงาน แสดงพฤติกรามดูถูกความสามารถของเด็ก
ประณามเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ และทำให้เด็กรู้สึกกดดัน
ข้อคิดจาก VDO : ถ้าเป็นครูในอนาคตข้างหน้า
ไม่ควรมีพฤติกรรมแบบนี้ ควรสั่งงานให้ชัดเจน และเดินดูกระบวนการทำงานของเด็กเพื่อจะได้เห็นความจริง
และส่งเสริมชื่นชมให้เด็กเกิดความมั่นใจ
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษวาดภาพระบายสี วาดภาพตนเองตามจินตนาการ
2. กำหนดเวลาให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ
3. ระหว่างการทำงานเดินดูเด็กตลอดเวลา
4. แจกเทปและให้นำผลงานมาติดหน้าห้อง
5 ให้อธิบายผลงาน ตั้งชื่อผลงาน หรือทายภาพวาด
ความรู้ที่ได้รับ
1. การเป็นครูต้องบอกเด็กให้ละเอียดเมื่อต้องการให้เขาทำอะไรต้องอธิบายชัดเจน
การที่จะสั่งงานต้องคำนึงถึงบริบททางสังคมและประสบการณ์เดิมของเด็กด้วย
2. การวาดรูปตามแบบใครไม่เรียกว่า จินตนาการ จินตนาการเป็นสิ่งที่เราเพ้อฝันสามารถเกิดได้จริงและไม่ได้จริงซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความหลากหลาย
เช่น บางคนวาดตามความรู้สึก หรือดูแบบ ฯลฯ
3. ศิลปะเด็ก กับ ผู้ใหญ่แตกต่างกัน เพื่อนสามารถช่วยเพื่อนได้ บางครั้งครูก็ช่วยได้บ้าง
และการที่เด็กลบ ไม่ใช่สิ่งผิด
4. ครูต้องเดินดูการทำงานศิลปะทุกอย่างเพื่อได้เห็นกระบวนการขั้นตอนของเด็ก
และสังเกตพฤติกรรมด้านต่างๆ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นต้น
5. บางครั้งเด็กยังวาดรูปไม่เสร็จในเวลาที่กำหนด ก็สามารถให้ทำช่วงอื่นต่อได้
ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และคนไหนที่ไม่มาก็เปิดโอกาสให้ทำได้ในวันรุ่งขึ้น
6. การประเมินผลงานเด็กไม่ควรดูที่ความสวยอย่างเดียว ดูทั้งกระบวนการและความตั้งใจด้วย
7. การสอนศิลปะทำให้เห็นพัฒนาการของเด็กว่าเหมาะสมตามวัยหรือไม่และได้เห็นทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก
เช่น การจับดินสอ การวาดรูปตามแบบ
8. การติดผลงานให้ติดในระดับสายตาเด็ก ติดเทปด้านหลังให้แน่นลมไม่สามารถปลิวได้
ติดจากซ้ายไปขวา สอนให้เด็กติดตามลำดับและ จำนวนแถวละเท่าๆกัน
เพื่อง่ายต่อการตรวจทาน
9. การทำผลงานศิลปะสามารถทำได้ทั้งแนวตั้งแนวนอน แต่ส่วนใหญ่ใช้แนวนอน
เพื่อมีพื้นที่ในการเขียนคำบรรยายด้านล่าง
10.
การใช้คำถามให้เด็กนำเสนอควรเป็นปลายเปิด เช่น เล่าให้คุณครูฟังหน่อยซิคะ
ภาพที่หนูวาดเกิดอะไรขึ้น มีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กระตุ้นให้เด็กตอบเรื่อยๆ
ขั้นตอนการสอน
1.ให้เด็กแบ่งกลุ่มละเท่าๆ กัน
2.ให้ออกไปรับอุปกรณ์ทีละคน (1คนต่อ1ชิ้น ไม่ซ้ำกัน)
3. แจกหรืออธิบายคำสั่ง
4. ให้เวลาทำและเดินดูการทำงานของเด็ก
5. เก็บอุปกรณ์และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
6. อธิบายเพิ่มเติมและใช้คำถามกระตุ้น
ความรู้ที่ได้รับ
1.เด็กทุกคนอยากมีส่วนร่วม ต้องคำนึงว่าเด็กมีตัวตน และให้เด็กได้ผลัดกันออกไปเอาของ
2.การที่แจกคำสั่ง > กระดาษ >และ(สี เป็นอันดับสุดท้าย) เพราะเป็นสิ่งที่เด็กเขียนได้ อาจจะอม
หรือนำไปเล่นได้
3. ถ้าให้เด็กได้ทำงานกลุ่มก็จะเห็นความหลากหลายทางความคิด ฯลฯ
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
2. สามารถนำเทคนิคต่างๆของอาจารย์ไปใช้กับเด็ก
3. ปฏิบัติตนเป็นครูที่ดีในอนาคดซึ่งจะไม่เป็นแบบครูใน VDO
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา
แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามกฎระเบียบ รู้สึกดีใจและตื่นเต้นที่ได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรก ได้ข่าวจากเพื่อนๆมาบ้างว่าอาจารย์ตรงต่อเวลาและงานเยอะ 555 แต่พอได้เรียนก็ได้อะไรหลายๆอย่าง เห็นรายละเอียดสิ่งเล็กๆน้อยๆมากยิ่งขึ้น และคิดว่าตนเองยังต้องฝึกการกล้าแสดงออกให้มากขึ้น เช่น
การกล้าคิดกล้าทำ หรือนำเสนองานต่างๆ รวมทั้งฝึกเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และนำเทคนิคต่างๆจากอาจารย์และเพื่อนไปพัฒนาตนเอง
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบ
ส่วนมากจะเข้าเรียนตรงต่อเวลา มีเพียงบางคนเท่านั้นที่มาช้า
การทำกิจกรรมในห้องเพื่อนๆร่วมมือกันเป็นอย่างดีและได้เห็นความคิดที่หลากหลาย
บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน เพื่อนๆหัวเราะและพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์เป็นระยะๆ
ทำให้ครื้นเครงดีค่ะ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย
พูดคุยเป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นแบบอย่างในการตรงต่อเวลา(5555) คอยอธิบายรายละเอียดต่างๆสอดแทรกอยู่เสมอ รวมทั้งมีเทคนิคการสอนที่แตกต่างจากท่านอื่น
จะลงรายละเอียดทุกอย่างเพื่อให้สามารถเชื่อมโยง นำไปใช้กับเด็กได้จริง
มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนและใส่ใจงานของนักศึกษาด้วยการเดินดูเป็นระยะๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น