Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16
(สัปดาห์ที่ 17)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 27 เมษายน พ.. 2558 (วันพุธ)
            เนื้อหา 1.จัดนิทรรศการแสดงผลงานทางศิลปะ
บรรยากาศการจัดงาน
ขั้นตอน
1.สมาชิกร่วมกันวางแผน
2.ช่วยกันเตรียมสถานที่
3.เริ่มจัดวางผลงาน
การแสดงผลงานทั้งหมดที่ทำตั้งแต่ต้นเทอม
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
การแขวนโมบาย
๐ แขวนโมบายอย่าบังรูป
๐ แขวนให้ระดับน้ำหนักพอกัน
๐ แขวนเรียงระดับสูงต่ำ ของประเภทเดียวกันแยกกันได้
๐ แขวนจากวัสดุหลากหลาย เช่น เอ็น ด้าย เชือก และสามารถนำอะไรมาพันเชือกก่อนได้ให้เป็นศิลปะ มองดูแล้วสวยงาม
การติดผลงาน
๐ การติดงานบนกระดาน ติดแยกให้เป็นสัดส่วน ติดแนวใดก็ได้
๐ งานทุกอย่างควรมีชื่อกิจกรรมวางไว้ด้วยหรือเขียนกำกับไว้ว่าคืองานประเภทใด
๐ การติดผลงานต้องกะระยะให้ดีหางานเด่นๆของเด่นที่สุดเอาไว้ระดับสายตาเด็กเพื่อให้ชัดเจนกว่างานอื่นๆ และนำงานอื่นๆไว้รอบๆ
๐ งานวาดที่เป็นงานกระดาษติดตามห้อง ถ้าติดให้เด็กต้องอยู่ระดับสายตาเด็ก
การเขียนอธิบายชื่องาน
๐ งานศิลปะทุกชิ้นต้องเขียนชื่อผลงานและมีการเล่าเรื่องราวอธิบายผลงาน
จัดแฟ้มสะสมผลงาน
๐ งานแฟ้มสามารถจัดแสดงได้หลายรูปแบบ ตั้ง หรือวางซ้อนๆกัน ฯลฯ
อื่นๆ
๐ งานบางอย่างวางได้ บางอย่างตั้งได้ หรือวางรวมกันให้สื่อออกมาเป็นเรื่องราว
            เนื้อหา 2.นำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากสอนศิลป์
ทำไมถึงเลือกทำงานชิ้นนี้ ?
1.เพราะเป็นสื่อที่เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ อ.1 – .3 และเด็กสามารถทำได้เองทุกขั้นตอน
2.เพราะเป็นสื่อที่ไม่ต้องลงทุนสูง เพราะถุงเท้าสมัยนี้ คู่ละ 10 บาท ก็หาได้
3.เพราะเป็นทั้งสื่อการเรียนการสอน เช่น เล่านิทาน และยังเป็นสื่อของเล่นสำหรับเด็กไว้ในมุมต่างๆได้ด้วย
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. นำคำแนะนำของอาจารย์ในการจัดนิทรรศการสำหรับเด็กปฐมวัยไปปรับปรุงเมื่อต้องจัดให้กับเด็กจริงๆ
2. นำผลงานที่ทำมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นเทอมไปใช้สอนในกิจกรรมสร้างสรรค์
3.นำคำติชมไปปรับปรุงผลงานตนเองให้ดียิ่งขึ้น
4.จดจำกิจกรรมต่างๆหรือสื่อที่เพื่อนนำเสนอไว้ใช้ประโยชน์ในการสอน
 เนื้อหา 3.มอบรางวัลเด็กดี
ของรางวัลขอบคุณอาจารย์สำหรับสีเทียนด้วยค่ะ
ประเมินผล
ประเมินตนเอง: กระตือรือร้นในการทำงาน ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม ถึงแม่จะไม่รู้เทคนิคและหลักการจัดนิทรรศการแต่ก็พยายามทำออกมาอย่างเต็มที่และน้อมรับคำติชมจากอาจารย์ไว้แก้ไขในครั้งต่อไป  ตั้งแต่ตลอดเทอมจนมาถึงวันนี้ปิดคอร์สก็ได้รู้เทคนิคหลายๆอย่างและคิดว่าการที่ได้ทำกิจกรรมศิลปะอะไรมากมายหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีและนำไปใช้ได้จริงๆ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆให้ความร่วมมือกันดีมีการแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังซึ่งกันและกัน รวมทั้งเก็บภาพความประทับใจผลงานของพวกเราวันนี้ไว้ ดูสนุกสนานและหยอกล้อกันเป็นระยะๆ ภาพรวมตลอดทั้งเทอมก็ได้เห็นความสามารถของหลายๆคน ทั้งความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งใจทำงานศิลปะ หรือมีบางคนเร่งรีบไปบ้าง แต่ตอนไปสอนจริงๆก็คิดว่าเพื่อนๆคงทำได้ดี
ประเมินอาจารย์: จนเวลาเดินทางมาถึงคาบสุดท้าย ถึงแม้จะมีการสอบสอนอีกหนึ่งครั้งหลังจากนี้ การที่ได้เรียนกับอาจารย์บาสเป็นครั้งแรกในเทอมนี้ ก็ได้อะไรต่างๆมากมาย อาจารย์จะคอยเตรียมของให้พวกเราตลอด และมีความเป็นกันเองไม่ค่อยโกรธเวลาเพื่อนๆหยอกล้อแรงๆ เวลาสอนก็จะอธิบายนานไปหน่อย งานเยอะ แต่ในนั้นก็เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆทั้งสิ้น ความประทับใจที่มีต่ออาจารย์ ก็คือ การที่อาจารย์ลงมาช่วยพวกหนูทำอะไรหลายๆอย่าง เช่น กวนแป้ง คนวุ้น บางทีก็ยกของมาเองทั้งที่เยอะมากๆแต่ไม่โทรตามพวกเรา ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ^^ ขอให้ต่อไปได้เรียนด้วยกันอีก J

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

ประดิษฐ์สอนศิลป์

ประดิษฐ์ตุ๊กตาถุงเท้า


อุปกรณ์

1. ถุงเท้ายาว                                 2. ใยโพลีเอสเตอร์หรือใยสังเคราะห์
3. หนังยาง                                    4. ไหมพรม
5. กระดุมสี                                   6. กรรไกร
ขั้นตอนการทำ
1. นำใยสังเคราะห์จับให้เป็นก้อนกลมๆแล้วยัดไปในถุงเท้า
2. จับถุงเท้าที่มีใยสังเคราะห์แล้วใช้หนังยางมัด จากนั้นทำอีกข้างหนึ่งเพื่อเป็นหูของเจ้าหมี
3. หยิบใยสังเคราะห์ขนาดใหญ่กว่าเดิมยัดไปตรงกลาง จับให้เป็นหัวหมีแล้วใช้หนังยางมัด
4. ยัดใยสังเคราะห์เหมือนเดิมแต่เลื่อนลงมาข้างล่างก่อนเพื่อให้ได้ขาหมีทั้ง2ข้าง
5. สุดท้ายยัดใยสังเคราะห์ตัวหมีลงไปแล้วมัดให้แน่น จากนั้นใช้กรรไกรตัดชายถุงเท้าที่เหลือ
6. เมื่อได้หมีแล้วให้ใช้ไหมพรมพันทับหนังยางเพื่อความสวยงาม
7.ตกแต่งตุ๊กตาหมีด้วยกระดุม และนำถุงเท้าที่ตัดออกมาผูกเป็นผ้าพันคอ
ผลงานตุ๊กตาหมีจากถุงเท้า
การนำไปประยุกต์ใช้ของครู
1. นำไปให้เด็กทำในกิจกรรมพิเศษ
2. ทำตุ๊กตาที่หลากหลายรูปแบบนำมาเป็นสื่อในการเล่านิทาน
3. ทำตุ๊กตาต่างๆ ไว้ให้เด็กเล่นในมุมบทบาทสมมุติ
4. สามารถประยุกต์ทำตุ๊กตาให้เข้ากับหน่วยการเรียนการสอนได้
ประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัย
ด้านร่างกาย
- การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
- การใช้กล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ได้ดี
ด้านอารมณ์
- ให้ความเพลิดเพลินในการทำตุ๊กตา
- ชื่นชมผลงานและสิ่งที่สวยงาม
- สนุกสนานกับการเล่นตุ๊กตา
- รับรู้ความต้องการตนเองว่าอยากประดิษฐ์อะไร
ด้านสังคม
- เป็นสื่อใช้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ด้านสติปัญญา
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่แปลกใหม่
- มีการคิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
(สัปดาห์ที่ 16)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 22 เมษายน พ.. 2558 (วันพุธ)
เนื้อหา 1.การสอบสอนศิลปะสร้างสรรค์ (งานกลุ่ม)
บทบาทเด็กปฐมวัยโดยการสร้างชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม
การสอนศิลปะสรุปได้ดังนี้
(ชี้แนะการสอน-เตรียมความพร้อม)
- แบ่งโต๊ะ / ให้พอดีกับกลุ่มเด็ก
- จัดโต๊ะแล้วเตรียมอุปกรณ์
(ขั้นนำ-ขั้นสอน)
- นันทนาการเด็กด้วยเพลงจับกลุ่ม (เวลาไม่ควรเกิน3นาที)
- ให้เด็กนั่งแถวตอน และเก็บเด็กให้สงบก่อนจะอธิบาย
- เขียนกระดาษ(อาจเขียนไว้แล้ว) และบอกกิจกรรมในวันนี้
- ชี้แจงอุปกรณ์แต่ละงาน (กิจกรรมพื้นฐานบอกคร่าวๆว่าทำอย่างไรเพราะเด็กรู้แล้ว)
- ชี้แจงกิจกรรมพิเศษ และสาธิตการทำคร่าวๆพอสมควรแก่เวลา
- ให้เด็กแต่ละกลุ่มไปทำอย่างอิสระโดยครูคอยดูกระบวนการทำงานของเด็ก
- เสร็จกิจกรรมใดให้นำมาส่งครูและบอกชื่อผลงานตนเองโดยครูจะเขียนใต้ภาพ
(ขั้นสรุป- นำเสนอผลงาน)
- ขออาสาสมัคร หรือเรียกตัวแทนงานแต่ละชิ้นออกมาอธิบายหน้าห้อง

            การสอน
กลุ่ม 1 หน่วยยานพาหนะ

กลุ่ม 2 หน่วยสัตว์

กลุ่ม 3 หน่วยข้าว

กลุ่ม 4 หน่วยธรรมชาติรอบตัว

กลุ่ม 5 หน่วยกล้วย


ข้อเสนอแนะ-การสะท้อนหลังการสอนของแต่ละกลุ่มจากอาจารย์
๐ ถ้ากิจกรรมเยอะยากใช้เวลานาน ให้ลดกิจกรรมได้เหลือ3 แต่ละวันอาจปรับไม่เท่ากัน
๐ การสอนดี นำด้วยเพลงเร้าความสนใจ กิจกรรมที่จะสอนต้องน่าสนใจด้วย
๐ การแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มอาจเล่นเกม เช่น ให้ต่อนับไปเรื่อยๆ กล้วยหอม กล้วยไข่ ฯลฯ ใครนับชนิดเดียวกันให้อยู่ด้วยกัน
๐ การสอนต้องอธิบายแล้วสาธิตให้ดูด้วยในกิจกรรมพิเศษ
๐ เมื่อเด็กเสร็จนำงานมาส่ง ควรใช้คำถามกระตุ้น ไหนลองเล่าให้ครูฟังซิว่า ภาพที่หนูวาดเกี่ยวกับอะไร ถ้าเด็กเล่าเยอะไม่มีเวลาพอให้ครูเขียนสรุปๆ แต่ถ้าเด็กเล่าสั้นให้กระตุ้น
๐ การเก็บอุปกรณ์แล้วแต่โรงเรียนว่าจะเก็บก่อนหรือนำเสนอก่อน
๐ การนำเสนอ ขออาสาสมัคร เลือกเจาะจงเด็ก หรือเลือกจากผลงานที่สะดุดตาก็ได้
๐ การเขียนแผน ขั้นนำ ถ้ามีเพลงสามารถเขียนใส่ไปได้
๐ การเขียน ต้องเขียนคำศัพท์ให้ถูกต้องตามคำเรียกทางการ
๐ การเขียนคำอธิบายผลงานเด็กให้ใช้ปากกาเมจิกเขียนให้ชัดเจน ถ้าเขียนไม่ทันในเวลาให้เก็บไว้ก่อนแล้วเขียนที่หลังหรือให้เด็กเข้าแถวรอให้เป็นระเบียบ
๐ การแบ่งกลุ่มถ้ากิจกรรมใดใช้เวลาเยอะอาจต้องมีโต๊ะเพิ่ม
๐ พื้นที่การโชว์ผลงาน ทำได้ทั้ง แปะ วาง แขวน หรือ หนีบ ให้แห้งในงานสีน้ำ แต่มีผ้ายางปูรองด้านล่าง
๐ การวาดต้องสอนเด็กว่าจุ่มสีแล้วปาดที่ปากแก้ว ไม่ให้เยิ้ม
๐ กิจกรรมพิเศษครูควรเดินดูและอยู่ใกล้ๆเด็กตรงนั้นมากเป็นพิเศษให้เด็กทำได้ก่อนแล้วจึงไปโต๊ะอื่น
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. นำคำแนะนำของอาจารย์เรื่องขั้นนำ ที่นำด้วยเพลงข้างต้นอย่าให้นานมากเพราะทำให้กิจกรรมต้องยืดเวลา และ จดจำเทคนิคข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปใช้ตอนไปสังเกตการณ์สอนเร็วๆนี้
2. นำกิจกรรมต่างๆของเพื่อนๆไปประยุกต์ใช้ได้จริง
ประเมินผล
ประเมินตนเอง: มีการเตรียมตัวที่จะสอนมาในระดับหนึ่งทั้งปรึกษาหารือกับเพื่อนในกลุ่มว่าจะเอาเรื่องอะไรดีและได้ช่วยกันเตรียมอุปกรณ์รวมทั้งแบ่งหน้าที่ต่างๆ โดยดิฉันได้รับมอบหมายในการสอน พอสอนจริงๆก็ลืมเล็กน้อย คิดว่ายังไม่ดีเท่าที่ควร และค่อนข้างจะติดเล่นไปหน่อยซึ่งสอนไปขำไป ถ้ามีโอกาสครั้งหน้าจะต้องทำให้ดีกว่าเดิม
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆแต่ละกลุ่มเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ส่วนเรื่องการสอนหลายคนก็ทำได้ดีมากๆบางคนมีเทคนิค ใช้น้ำเสียงที่ไพเราะเหมือนการเล่านิทาน บางคนก็พยายามใช้เพลงเป็นสิ่งเร้าความสนใจก่อนเข้าสู่การทำศิลปะ และในหน้าที่บทบาทการเป็นครูก็ทำตามที่อาจารย์แนะนำเดินดูการทำงานของเด็กๆได้ถูกต้อง
ประเมินอาจารย์: อาจารย์คอยชี้แนะแนวทางขั้นต้นก่อนที่พวกเราจะสอนก็คอยบอกขั้นตอนอยู่เสมอ ถ้าเป็นท่านอื่น สอบ คือ สอบ! อาจจะดุกว่านี้ ทำให้บรรยากาศตึงเครียด แต่เรียนกับอาจารย์กับทำให้รู้สึกสนุกและมีความเป็นกันเองมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ปั้นดินน้ำมัน

งานปั้นดินน้ำมัน

อุปกรณ์
1.ดินน้ำมัน           2.กล่องใส่แผ่นซีดี         3.ยาทาเล็บแบบใส

อุปกรณ์

ขั้นตอน
1.ออกแบบ หรือ เชื่อมโยงจากภาพจริง
2.ปั้นต่อเติมอย่างอิสระลงบนแผ่นซีดี
3.ใช้ยาทาเล็บใสๆทาเคลือบ
ผลงานที่สำเร็จ
ห้องครัวที่ฉันมีความสุข & ธรรมชาติที่ฉันวาดฝัน

ครั้งที่ 14 ไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
(สัปดาห์ที่ 15)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 16 เมษายน พ.. 2558 (วันพุธ)
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันหยุดช่วงสงกรานต์

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
(สัปดาห์ที่ 14)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 8, 9 เมษายน พ.. 2558 (วันพุธ,วันพฤหัสบดี)
เนื้อหา 1. พูดคุยเรื่องเรียน วันเรียนชดเชย และการเตรียมตัวสังเกตการสอน
การเขียนแผนศิลปะจะง่ายกว่าแผนกิจกรรมจัดประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ตอนสังเกตการสอนต้องเขียนแผนและจะมีการทดสอบสอน1ครั้ง
- 22-23 เม.. สอบสอนศิลปะกลุ่ม
- 27 เม.. จัดนิทรรศการ
- 4 - 6 .. สอบปลายภาค (สอบสอน)
* วันที่ 20 มารับเอกสารสำหรับไปส่งโรงเรียนมอบตัวก่อนสังเกตการสอน
            เนื้อหา 2. อธิบายและวิพากษ์ความถูกต้องการเขียนแผนของนักศึกษา
1.การเขียนวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์บางอย่างสามารถนำมารวมกันได้   เช่น
- การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา        - เพื่อเกิดความสนุกสนาน        
 - เพื่อเกิดความชื่นชมสิ่งสวยงาม                   - เพื่อฝึกความรับผิดชอบ
- ฝึกการทำงานเป็นทีม                                               - ฝึกความมีน้ำใจและรู้จักแบ่งบันสิ่งของให้ผู้อื่น
ส่วนวัตถุประสงค์ด้านพัฒนาภาษา ให้เจาะจงเป็นด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ เช่น ใช้คำว่า เด็กบอกหรือเด็กเล่า
2.ประสบการณ์สำคัญ  - สามารถเพิ่มเติมใช้คำต่างจากหนังสือได้โดยเจาะจงเติมเรื่องที่จะสอนลงไปและเลือกเน้นเฉพาะสิ่งที่จะเกิดกับเด็กจริงๆเท่านั้น
3.การเขียนกิจกรรม
ขั้นนำ  คือ การแนะนำอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม
ขั้นสอน คือ สาธิตวิธีการทำและจบด้วย พร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม (ไม่ต้องเขียนขั้นเยอะเหมือนตัวอย่างอาจารย์)
ขั้นสรุป คือ ให้เด็กนั่งเป็นวงกลมให้เรียบร้อยและขอตัวแทนออกมานำเสนอ ถ้าเกินเลาสามารถมานำเสนอเวลาว่างได้
4.สื่อ/แหล่งสถานที่ หมายถึง สื่อที่ใช้ในกิจกรรม และ สถานที่ถ้าเป็นนอกห้องเรียนให้เขียนด้วยว่าเด็กออกไปทำอะไร  เช่น  สวนหย่อมหน้าโรงเรียน (เด็กไปเก็บดอกไม้)
5.การประเมิน  - ประเมินให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
6.บูรณาการ  ใส่ให้ได้มากที่สุด (ถ้ามี)
7.สะท้อนตนเองหลังการสอน  - ประเมินตนเองและประเมินผู้เรียน กิจกรรม การสอน เป็นอย่างไร และมีอุปสรรคปัญหาอะไรบ้าง
            เนื้อหา 3.ตัวอย่างรูปแบบการประเมินที่หลากหลาย
กิจกรรมพื้นฐานและกิจกรรมพิเศษ
๐ ถ้าประเมินจากการสังเกตอย่างเดียวจะไม่มีหลักฐาน อาจารย์จึงนำแบบสังเกตของ ร.. กทม. มาให้ดู
กิจกรรมพื้นฐาน จะเกี่ยวกับงานกระดาษ ขั้นตอนไม่เยอะ เด็กทำได้อย่างอิสระ
กิจกรรมพิเศษ จะมีเทคนิค คิดนอกกรอบได้มากมาย แต่ละวันจะทำไม่เหมือนกัน มีรูปแบบขั้นตอนและกระบวนการที่หลากหลาย (ถ้าขั้นตอนซับซ้อนเด็กทำไม่เสร็จในวันเดียวสามารถแบ่งทำวันต่อไปได้ โดยแบ่งแผนเป็นหลายวัน 1 อาทิตย์ ประดิษฐ์เป็นชิ้นเดียวได้หรือรวมเป็นเรื่องราว)


แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมิน ผลงานบางชิ้นไม่จำเป็นต้องประเมินทุกคน ส่วนใหญ่ต้องประเมินคือให้เด็กประเมินตนเองโดยถามความคิดเห็น และครูเป็นคนประเมิน  โดยใส่คำบรรยายของเด็กได้


แบบประเมินพัฒนาการ
ใบประเมินพัฒนาการ เลือกผลงานที่เด็กทำมาประเมิน เลือกชิ้นที่ดีที่สุด ประเมินเป็นเดือนหรือเป็นเทอม
            เนื้อหา 4.ตัวอย่างการสอนศิลปะแบบไฮสโคป
Plan .. วางแผน
1.ให้เด็กแบ่งกลุ่ม
2. เด็กเลือกกิจกรรม โดยมีสัญลักษณ์ตนเองมาติดไว้
3.เมื่อเด็กวางแผน ครูจะคอยบันทึก อาจจะสัปดาห์ละ1กลุ่ม
Do ..  ทำ
1.เด็กจะทำตามแผนที่วางไว้ กิจกรรม ที่ 1…2…3… โดยเรียงตามลำดับ เมื่อทำอันไหนเสร็จจะเก็บออก
2.ครูจะสงเกตว่าเด็กทำตามลำดับหรือไม่ (ห้ามข้ามกิจกรรม)
Review .. นำเสนอ
1.ให้เด็กเลือกกิจกรรมที่ตนเองชอบมานำเสนอ
2. เพื่อนในห้องและครูสามารถ ถาม - ตอบ ได้
เพิ่มเติม สรุปการเรียนการสอนแบบไฮสโคป(high/scope)  ทางโรงเรียนเกษมพิทยา เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อ และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น จะใช้การจัดแผนการเรียนรู้แบบ plan do review โดยให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ 3กิจกรรม ให้เวลา40 นาที และเลือก1กิจกรรมมาพูดคุยให้เพื่อนๆได้ฟัง ข้อมูลเพิ่มเติม
ประเมินผล
ประเมินตนเอง: กระตือรือร้นในการเรียนและตั้งใจดูรูปแบบประเมินที่หลากหลาย เพราะไม่เคยได้เห็นจากอาจารย์ท่านอื่นๆ แต่ในบางครั้งก็ไม่ค่อยมีสมาธิหันไปหยอกล้อกับเพื่อนบ้างและเล่นโทรศัพท์บ้าง แต่เมื่ออาจารย์อธิบายก็จะจดรายละเอียดให้มากที่สุด
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียน แม้จะมีคุยกันเป็นระยะ และมีต่อรองเรื่องเรียน เรื่องวันหยุดกับอาจารย์ วันนี้เพื่อนๆขาดเพิ่มเติมจากเดิม อาจเป็นเพราะจองตั๋วกลับบ้านก่อน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์อธิบายได้ละเอียด และมีตัวอย่างมาให้ดูเสมอๆ ทำให้เข้าใจมากขึ้นรวมทั้งสาธิตมีสื่อในการสอนเรื่องไฮสโคปมาอธิบายร่วมด้วย แต่บางครั้งอาจารย์ก็พูดเสียงเบาไปหน่อยค่ะ ^^ สุดท้ายยังใจดีให้พวกเราได้หยุดต่อเนื่องในวันสงกรานต์อีกด้วย 

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
(สัปดาห์ที่ 13)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 30 มีนาคม พ.. 2558 (วันจันทร์)
หมายเหตุ: เรียนวันนี้ เพราะขอเวลาอาจารย์เบียร์จากวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม
            เนื้อหา 1. เรียนการเขียนแผนจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
- หลักสูตร
โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ประกอบด้วย
ประสบการณ์สำคัญ                             สาระที่ควรเรียนรู้
- ด้านร่างกาย                                       - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
- ด้านอารมณ์                                       - เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลสถานที่แวดล้อม
- ด้านสังคม                                         - เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก
- ด้านสติปัญญา                                   - เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
- หลักการเขียนแผนประสบการณ์
การเขียนแผนศิลปะจะมุ่งปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ และด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีประสบการณ์สำคัญที่เกี่ยวของ ดังนี้
ประสบการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
- จุดประสงค์การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
1.เพื่อให้ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
2.นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในกิจวัตรประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
- การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
1.ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี 2546 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์สิ่งต่อไปนี้
     - มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
     - ตัวบ่งชี้
     - สภาพที่พึงประสงค์ในเด็กอายุ 0 - 3 ปี และ 3 - 5 ปี
3.วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
4.กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
5.เขียนแผนการจัดประสบการณ์   โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
     ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง  ดูจากความสนใจของเด็ก สิ่งที่เด็กควรรู้
     ขั้นที่ 2 ระดมความคิด   แตกความคิดออกมาเป็นแม็บ
     ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม   แบ่งออกเป็นกิจกรรมหลัก
     ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ   ร่างกาย อารมณ์  สังคม  สติปัญญา
     ขั้นที่ 5 จัดทำแผนประสบการณ์   วางแผนกิจกรรมและทำบันทึกการสอน
รูปแบบการเขียนแผน ทั้ง 3 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1
รูปแบบที่ 2
รูปแบบที่ 3
แนวทางการประเมิน
- ประเมินทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และทักษะกระบวนการ เจตคติ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิธีวัดประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
- ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา ประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
- การประเมินต้อนำไปสู่การแปรผลและสรุปผลที่สมเหตุสมผล
- มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม
ตัวอย่างของอาจารย์
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: ในวันแรกมีการเรียนรวมกัน 2 เซค ซึ่งก่อนเข้าห้องก็ค่อนข้างจะงงเล็กน้อย อาจารย์ก็มาพร้อมกัน2คนเลยไม่รู้ว่าจะเรียนวิชาอะไร5555 พอเข้ามาให้ห้องเหมือนหูดับเลยค่ะ มันวิ้งค์ๆ ไม่มีสมาธิในการเรียนสักเท่าไหร่ เพราะเสียงดังมากๆ แต่ก็ดีใจที่ได้เรียนร่วมกันเพราะเป็นเพื่อนกลุ่มเก่าที่เรียนด้วยกันเทอมที่แล้ว
ประเมินเพื่อน: เพื่อนคุยกันค่อนข้างเสียงดัง มีนอกเรื่องบ้าง โม้บ้าง เล่นกันบ้าง และมีต่อรองอาจารย์ตลอดเวลา
ประเมินอาจารย์: อาจารย์พยายามสอนแข็งกับเสียงเพื่อน มีเทคนิคคือ ถ้าไม่เงียบก็จะกินเวลาไปอีก ในการสอนมีการเตรียมการสอนมาหลากหลายรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางให้กับพวกเรา