Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
(สัปดาห์ที่ 7 )
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่  18 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
หมายเหตุ: วันที่ 19 .. 2558 *เรียนรวมกับวันที่ 18
เรื่องที่เรียน  การสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยสีน้ำ
งานวันนี้มีทั้งหมด 14 ชิ้น  แบ่งเป็นงานเดี่ยว12ชิ้น งานกลุ่ม 2 ชิ้น
            เนื้อหา 1.กิจกรรม การวาดภาพจากสีน้ำ
งานชิ้นที่ 1
            เนื้อหา 2.กิจกรรมหยดสี
งานชิ้นที่ 2
            เนื้อหา 3.กิจกรรมเทสี
งานชิ้นที่ 3
            เนื้อหา 4.กิจกรรมเป่าสี
งานชิ้นที่ 4
            เนื้อหา 5.กิจกรรมเป่าฟองสบู่
งานชิ้นที่ 5
            เนื้อหา 6.กิจกรรม กลิ้งสี
งานชิ้นที่ 6
            เนื้อหา 7.กิจกรรม พับสี
งานชิ้นที่ 7
            เนื้อหา 8.กิจกรรม พ่นสี
งานชิ้นที่ 8
            เนื้อหา 9.กิจกรรม ย้อมสี
งานชิ้นที่ 9
            เนื้อหา 10.กิจกรรม เพ้นท์ก้อนหิน
งานชิ้นที่ 10
            เนื้อหา 11.กิจกรรม ดึงเส้นด้ายชุบสี
งานชิ้นที่ 11
            เนื้อหา 12.สลัดสี
งานชิ้นที่ 12
            เนื้อหา 13.กิจกรรม จุดสีสร้างภาพ
งานชิ้นที่ 13
            เนื้อหา 14.กิจกรรม ละเลงสี
งานชิ้นที่ 14
ขั้นตอนการสอน
1. เขียนรายการที่จะทำในวันนี้บนกระดาน
2. อธิบายขั้นตอนการทำงานแต่ละชิ้น
3. จัดแบ่งอุปกรณ์ให้แต่ละกลุ่มเป็นชุดๆ
4. ให้เวลาสร้างสรรค์ผลงาน
5. ทำสถานที่ในการแขวนหรือผึ่งงานให้แห้ง
6. ครูคอยเดินดูกระบวนการทำงานและให้แรงเสริมโดยการชื่นชมผลงาน
ความรู้ที่ได้รับ
1. การเขียนกระดานก่อน ทำให้เด็กทราบว่าวันนี้จะต้องทำอะไรบ้าง
2. การทำงานศิลปะไม่จำเป็นต้องหาวัสดุแพงๆ แต่สามารถเก็บเศษวัสดุต่างๆหรือของใช้ในบ้านมาให้เด็กทำได้ เช่น  ไม้เสียบลูกชิ้น ไม้สำลีปั่นหู เป็นต้น
3. กิจกรรมการละเลงสีสามารถให้เด็กวาดร่วมกัน หรือให้แต่ละคนวาด และลบเป็นภาพใหม่ได้
4. 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: ตอนแรกรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนในวันนี้ รีบไปช่วยอาจารย์ยกของ ตอนเรียนช่วงแรกๆก็ตั้งใจทำกิจกรรม ถ่ายรูปเก็บรายละเอียดสิ่งต่างๆ คอยซักถามอาจารย์เมื่อสงสัยในงานชิ้นใด วันนี้ทั้งรู้สึกสนุกและเหนื่อยไปพร้อมๆกัน หน้ามึดมากค่ะ 5555 รู้สึกจะเป็นลมจริงๆ รีบๆทำงาน รู้สึกว่าต้องทำให้ครบทุกชิ้นพอ ไม่เน้นความสวยงามเลยจริงๆ ความดันแทบขึ้น อิอิ บางชิ้นก็ค่อนข้างงง เพราะอาจารย์อธิบายทีเดียวรวด14ชิ้น จึงแยกแยะงานไม่ค่อยออกเท่าที่ควร
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆดูสนุกตื่นเต้น และชอบในงานบางชิ้น เช่น การย้อมสีทิชชู ซึ่งเห็นบางคนทำแล้วทำอีกอยู่หลายชิ้นเพื่อเก็บไว้ ในบางครั้งก็มีบ่นๆกันบ้างกับความเหนื่อยล้า ในภาพรวมก็มีความสนใจกันดีกับกิจกรรมค่ะ และมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ดี
ประเมินอาจารย์: อาจารย์จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ(เยอะมากมาย)ให้นักศึกษาทำกิจกรรม มีกระบวนการในการสอน เริ่มตั้งแต่บอกงานโดยเขียนรายการเพื่อให้เห็นว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง จากนั้นก็อธิบายขั้นตอนและลงมือกวนแป้งในพวกเราด้วย คอยเดินดูการทำงานตลอดเวลา ทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดและมีอาจารย์คอยช่วยเหลือ เป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นแบบอย่างให้นักศึกษานำไปใช้ในการเป็นครูได้ดีค่ะ

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5  
(สัปดาห์ที่ 6 )
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่  11 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
หมายเหตุ: วันที่ 12 .. 2558 *เรียนรวมกับวันที่ 11
            เนื้อหา 1.กิจกรรม การประดิษฐ์ผลงานจากสีเทียน สีชอล์ก
งานชิ้นที่ 1


งานชิ้นที่ 2

งานชิ้นที่ 3

            เนื้อหา 2.กิจกรรม การประดิษฐ์ที่พิมพ์จากกระดาษทราย
งานชิ้นที่


            เนื้อหา 3.กิจกรรม การปั้นดินเหนียว
งานชิ้นที่ 5

            เนื้อหา 4.กิจกรรม การวาดภาพระบายสีด้วยสีน้ำ
งานชิ้นที่ 6

งานชิ้นที่ 7


            เนื้อหา 5. กิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์แบบกลุ่ม
งานชิ้นที่ 8

งานชิ้นที่ 9

งานชิ้นที่ 10


ขั้นตอนการสอน
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะให้แต่ละกลุ่ม
2. อธิบายการทำงานทีละชิ้น (เมื่อเสร็จชิ้นแรก จึงบอกชิ้นต่อไปก่อนที่จะลงมือทำ)
3. ระหว่างการทำงานเดินดูตลอดเวลาและคอยอำนวยความสะดวกต่างๆ
4. พูดคุยและบอกงานสัปดาห์ถัดไป ที่จะทำศิลปะด้วยสีน้ำ
ความรู้ที่ได้รับ
1. ต้องอธิบายรายละเอียดก่อนที่จะให้เด็กลงมือทำให้ชัดเจน
2. วันนี้เป็นการฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์โดยให้เด็กใช้สีเทียนถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่สามารถลบได้ รวมทั้งยังช่วยฝึกความมั่นใจให้เด็กได้ด้วย
3. 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ตอนเช้าได้ไปช่วยอาจารย์ยกของ เวลาเรียนก็พยายามตั้งใจที่จะฟังและทำกิจกรรม รู้สึกสนุกตื่นเต้นกับการทำกิจกรรม ชอบสิ่งที่เป็นรายละเอียด จึงทำให้ทำช้ากว่าเพื่อนในบางชิ้น ต้องไปนั่งปั้นดินอยู่คนเดียว5555  ชิ้นงานในวันนี้ชอบการขูดสีมากๆค่ะ ทำออกมาแล้วได้เส้นสีที่สวยคิดว่าถ้าเด็กทำคงจะชอบ ถึงแม้วันนี้จะเลอะเทอะกับสีชอล์กไปหน่อยแต่ก็ได้ทำอะไรใหม่ๆ ซึ่งบางชิ้น ตั้งแต่เกิดมาก็ยังไม่เคยได้ทำเลย ถือว่าวันนี้ได้ความรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงๆ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบ สนุกกับกิจกรรม มีการถ่ายรูปเก็บภาพตลอดเวลา การทำกิจกรรมในวันนี้เพื่อนๆร่วมมือกันเป็นอย่างดีและได้ผลงานที่หลากหลาย แต่บางคนรีบทำมากเกินไปเพราะอยากจะเลิกเร็วๆ  จึงทำให้เพื่อนอีกส่วนก็ทำไม่ทัน
ประเมินอาจารย์: อาจารย์เตรียมสื่ออุปกรณ์มาให้อย่างพร้อมเพรียง มีการอธิบายรายละเอียดได้ดีค่ะ คอยเดินดูนักศึกษาตลอดเวลาขณะทำงาน ก็แวะมาพูดคุย และชื่นชมผลงานบ้าง แนะนำสิ่งต่างๆบ้าง ทำให้รู้สึกเป็นกันเอง ใกล้ชิด สบายๆ และ ไม่ตึงเครียด

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่่ 4

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
(สัปดาห์ที่ 5)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 4 , 5 กุมภาพันธ์ พ.. 2558
            เนื้อหา 1. เรียน เรื่องวัสดุ อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป มีขายอยู่ทั่วไป เป็นวัสดุธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น
วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ มีดังนี้
-     กระดาษ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้เด็กมากที่สุดสามารถนำมาใช้ในงานศิลปะได้อย่างกว้างขวาง ครูควรคำนึงถึงกระดาษที่นำมาใช้กับเด็กที่ไม่มีราคาแพงจนเกินไป
1.กระดาษวาดเขียน มีความหนาไม่เท่ากัน เรียกว่าปอนด์ ขนาด 60 70 80 จะใช้ได้ดีกับงานวาดรูป
2.กระดาษโปสเตอร์หรือกระดาษสี มีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า มีทั้งหนาและบาง กระดาษหน้าเดียวสำหรับฉีกปะ กระดาษสองหน้าสำหรับ งานพับ ตัด เป็นต้น
3.กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมันหนา ด้านหลังเป็นสีขาว เหมาะกับการฉีก พับ ตัด ปะ
4.กระดาษนิตยสาร เป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับเด็ก หาได้ง่ายจากคนทั่วไปชอบสะสมไว้
5.กระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นกระดาษที่ใช้งานได้หลากหลาย ประดิษฐ์หุ่นตัวใหญ่ๆหรือนำมารองกันเปื้อนขณะทำงานศิลปะ
-     สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจเด็กเป็นอย่างมาก สีแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภท
1.สีเทียน คือ สีที่ผสมกับขี้ผึ้งแล้วทำเป็นแท่ง เมื่อนำมาใช้จะเป็นสีอ่อนๆใสเหมือนเทียนไข จะเกาะกระดาษหนามีคุณสมบัติกันน้ำ ควรเลือกใช้แบบที่มีเนื้อสีที่มากกว่า และควรเป็นแท่งโตสำหรับเด็กเล็กเพื่อจับถนัดมือ การเลือกซื้อแบบไม่มีสีขาวเลยจะดีเพราะเด็กใช้น้อย
2.สีชอล์กเทียน เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา สีสดใส เนื้อนุ่ม หนา เมื่อระบายอาจใช้เล็บ ทิชชู เกลี่ยให้เข้ากันเพื่อความสวยงามได้เหมาะสำหรับเด็กโตมากว่าเด็กเล็ก
3.สีเทียนพลาสติก ทำจากสีและพลาสติกผสม มีเนื้อละเอียด เหลาได้เหมือนดินสอ สามารถลบได้ แต่มีราคาแพงมาก
4.สีเมจิก บรรจุด้ามคล้ายปากกามีทั้งปลายแหลม ปลายตัด เหมาะสำหรับเขียนลายเส้น ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่จะใช้ระบายที่กว้าง
5.ปากกาปลายสักหลาด บางครั้งเรียกปากกาเคมี แต่มี่ลักษณะใหญ่กว่า สีสดใสมาก ไม่เหมาะระบายที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆสีจะซีดเร็ว
6.ดินสอ เด็กส่วนมากใช้ในการวาดรูป แต่ดินสอไม่เหมาะกับเด็กต่ำกว่า7ปี เพราะธรรมชาติของเด็กจะหายไป ควรใช้สีวาดเนื่องจากจะจินตนาการให้เหมือนของจริงมากกว่าการเห็นดินสอสีดำๆ
7.ดินสอสีหรือสีไม้ มีลักษณะเดียวกับดินสอ เหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก ทู่ง่าย หักง่าย ทำให้ต้องเหลาบ่อยๆและมีราคาแพงกว่าสีเทียนกับสีน้ำ
8.สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ
-  สีฝุ่น   -  สีโปสเตอร์  -  สีผสมอาหาร  -  สีน้ำ  -  สีพลาสติก
9.สีจากธรรมชาติ  เป็นสีที่ได้จากผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ  ไม่มีสารเคมีที่อันตรายต่อเด็ก
-     วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะและวัสดุอื่นๆ
- กาว ที่เหมาะกับเด็กมากที่สุดคือ แป้งเปียก และกาวน้ำ
- ดินเหนียว  คือ ดินธรรมชาติในต่างจังหวัด สามรถระบายสีได้
- ดินน้ำมัน คือ ดินที่มีส่วนของน้ำมันผสมอยู่และมีกลิ่นแรง ติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
- ดินวิทยาศาสตร์ (แป้งโด)มีลักษณะนิ่ม สีสวย ไม่เหนียวเหนอะหนะ จึงเหมาะกับเด็ก
ฟองน้ำ/เชือก/เส้นพาสต้า/ทราย/เศษผ้า/เปลือกหอย/แกนทิชชู/ขวดน้ำ/เมล็ดพืช/ไม้ไอติม เป็นต้น
อุปกรณ์ คือ สิ่งที่ใช้แล้วสามารถนำมาใช้ได้อีกหลายๆครั้ง เป็นเครื่องมือในการทำงาน ที่ใช้แล้วไม่สิ้นเปลืองแต่มีอายุการใช้งานและคุณภาพของสิ่งนั้นๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
    ๐สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น ทำให้มีมิติ มีชีวิตชีวา
     ๐สีเป็นวัตถุได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
-  สีจากธรรมชาติ เช่นสีดอกไม้ สีใบไม้ ผลไม้ เป็นต้น
-  สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา  เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน
            เนื้อหา 2. ใบงานสร้างสรรค์ศิลปะจากเส้นและสีโดยต่อเติมเส้นจากจุด
สิ่งไม่มีชีวิต
สิ่งมีชีวิต
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษและอุปกรณ์ต่างๆให้วาดภาพอย่างสร้างสรรค์
2. ครูสาธิตและอธิบายงานรวมทั้งมีตัวอย่างให้ดู
3. ขณะทำกิจกรรมเดินดูผลงานเด็กตลอดเวลา
4.การแสดงผลงานเป็นศิลปะรวมกลุ่ม 
การแสดงผลงาน
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
2. ฝึกการใช้จินตนาการและคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
3. ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและความรู้ใหม่
4. พัฒนาอารมณ์การแสดงออกและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงาน
5. ได้ชื่นชมผลงานตนเองและผู้อื่น
ความรู้ที่ได้รับ
1. ภาพสิ่งไม่มีชีวิต การลากต่อเส้น ทางศิลปะสามารถต่อเติมได้ให้เหนือความเป็นจริง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น รูปร่างรูปทรงรูปภาพไม่สามารถเป็นเหลี่ยมได้ แต่เส้นสามารถถ่ายทอดออกมาให้คล้ายของจริงได้
2. ภาพสิ่งมีชีวิต  การลากต่อเส้นภาพสิ่งมีชีวิต เป็นการเปิดกว้างอิสระทางความคิด สามารถผสมผสานภาพ ให้เป็นเรื่องราวได้ ไม่มีถูกไม่มีผิด บางภาพไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงก็สามรถคล้ายและเป็นเรื่องราวได้
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ราคาไม่แพงมาใช้กับเด็ก
2. เก็บเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อได้ 
3. นำใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน หรือเทคนิคของอาจารย์ไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคต
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนตอบคำถามเรื่องประเภทของวัสดุอุปกรณ์ เมื่อทำกิจกรรมก็ตั้งใจทำงานวาดภาพออกมาให้สวยและลงสีอย่างตั้งใจ จึงทำให้เสร็จช้า แต่ก็ภูมิใจในผลงานตัวเองมากๆ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียนมีคุยกันนอกเรื่องที่อาจารย์สอนบ้าง เข้าห้องเรียนช้า แต่ก็มีน้ำใจช่วยอาจารย์ยกของและอุปกรณ์ เพื่อนแต่ละคนมีการปฏิสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน เช่น ติดผลงานให้เพื่อนในขณะที่เพื่อนยังทำไม่เสร็จในบางชิ้นไม่เสร็จ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์พูดแซวนักศึกษาเป็นกันเอง เมื่อถูกแซวก็ไม่เคยโกรธหรือแสดงอาการไม่พอใจ อาจารย์มีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ของจริงมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง เพื่อจะได้ใช้ถูกต้อง ซื้อวัสดุฝึกที่มีราคาแพงและคงทนเหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอนและยังคิดกิจกรรมที่จะให้นักศึกษาได้ทำในสัปดาห์หน้าตลอดเวลาทำให้เห็นถึงการจัดสรรสิ่งต่างๆในการสอน

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
(สัปดาห์ที่ 4)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 28 มกราคม พ.. 2558
หมายเหตุ: วันที่ 29 .. 2558 *ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ
            เนื้อหา 1. เรียนทฤษฎี หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์

กิจกรรม คือ สิ่งที่จัดให้เด็ก
ประสบการณ์ คือ สิ่งที่เด็กได้รับ ได้เรียนรู้และเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ
             กิจกรรมศิลปะบางอย่างไม่จำเป็นที่เด็กจะต้องได้พัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน เพราะแต่ละกิจกรรมสามารถบูรณาการร่วมกันได้จนเด็กได้พัฒนาการครบทุกด้าน
            ในการทำกิจกรรมสามารถให้ผู้ปกครองมาร่วมด้วยได้เพื่อจะได้ทราบประสบการณ์ที่เด็กได้รับและเห็นพัฒนาการของเด็ก
            ศิลปะ ไม่ว่าเราจะเลือกอะไรไม่ใช่สิ่งที่ผิด บางคนมีสิ่งที่ยึดถือต่างกัน อาจทำเพราะรัก เพราะเงิน เพราะโชคลาภ ขึ้นอยู่กับมุมมองแต่ละคน เหมือนกับผลงานศิลปะทุกอย่างอยู่ที่การสื่อความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการมองที่ละเอียดและความคิดแต่ละคน
       (  .  ) จากภาพจุดๆเดียวขึ้นอยู่กับการมองว่าเรามองเห็นด้านไหนก่อนกัน บางครั้งเราอย่ามองเด็กเฉพาะจุดด้อยแต่ต้องมองข้อดีด้วย
ความสำคัญ ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพราะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย และเป็นกิจกรรมที่เด็กต้องทำทุกวัน ซึ่งเด็กจะได้ประสบการณ์ดังนี้
            1.ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ   ค้นพบสิ่งต่างๆ
            2.ด้านวัสดุอุปกรณ์   ได้รู้จักเครื่องมือในการทำศิลปะ
            3.ด้านความรู้สึกและใช้ประสาทสัมผัส   เล่าถ่ายทอดประสบการณ์เดิมหรือสัมผัสสิ่งของ
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงที่ส่งเสริมให้เด็กเผชิญกับความเป็นจริงในเหตุการณ์ต่างๆ
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะ  การสอนศิลปะไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่งแต่ต้องปลูกฝังความดีงาม ความละเอียดอ่อน เพื่อเตรียมความในระดับต่อไป ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เด็ก ดังต่อไปนี้ฝึกทักษะการใช้มือและการเตรียมความพร้อมผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถแต่ละคน
- ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งบุคลิกภาพ
- ปลูกฝังค่านิยมความเป็นไทย เช่น ปั้นผลไม้ไทย ขนมไทย ฯลฯ
- ฝึกให้เด็กเรียนรู้การใช้เครื่องมือศิลปะ การเก็บรักษา และทำความสะอาด
- ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
- เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- นำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
บทบาทครูศิลปะ คือ บุคคลสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ       เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน     
- เป็นผู้ดูแลเด็ก    เป็นต้นแบบที่ดี 
- เป็นผู้อำนวยความสะดวก  สอนด้วยรักและเอาใจใส่
- ยอมรับความสามารถของเด็ก   เปิดโอกาสให้อิสระแก่เด็ก
- ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก   กระตุ้นยั่วยุ ท้าทายให้เด็กกล้าแสดงออก
- มีการวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์และกิจกรรมล่วงหน้าให้กับเด็ก
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะ
- หลีกเลี่ยงการให้แบบให้เด็กได้คิดด้วยตนเอง
- ช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองแก่เด็ก ให้เกิดความภูมิใจ
- ไม่บังคับกวดขันเอาความหมายจากภาพ
- ไม่แก้ไขช่วยเด็กทำผลงาน และไม่วิจารณ์ผลงานในทางไม่ดี
การเตรียมการสอนศิลปะ
- ต้องสร้างข้อตกลงระเบียบการใช้อุปกรณ์
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อเด็ก
- วางอุปกรณ์ให้สะดวกต่อการใช้งาน
- เตรียมเครื่องมือที่สำหรับทำความสะอาดเมื่อเสร็จกิจกรรม
- เตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม
- มีที่จัดเก็บและแสดงผลงาน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะ
1.เลือกเรื่องที่จะสอน
2.กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนว่าเด็กจะได้อะไร
3.เตรียมการก่อนสอน เตรียมแผนการสอน สื่ออุปกรณ์ เป็นต้น
4.ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้จริง
5.ทำการสอนจริงตามแผน
6.เตรียมเด็กให้พร้อมก่อนจะทำผลงาน เช่น แบ่งกลุ่ม เป็นต้น
7.เมื่อเด็กทำงาน ครูต้องคอยอำนวยความสะดวก ดูแล ช่วยเหลือ และบันทึกข้อมูล
8.เก็บรักษาและทำความสะอาด
9.ประเมินผลงาน
เทคนิควิธีสอนศิลปะ
- เข้าถึง   เข้าใจ  ให้ความรัก  สร้างบรรยากาศ  มีวินัย  ปลอดภัย
- เปิดโอกาสให้คิดริเริ่มสร้างสรรค์   ฝึกหัด  เรียนรู้วางแผนแก้ปัญหา  แสดงออก  เรียนปนเล่น  สนับสนุนความดีงาม
            เนื้อหา 2. ใบงาน สร้างสรรค์ลายเส้น / วาดโครงร่างที่ชอบ-ต่อเติมลาย / ต่อเติมครึ่งวงกลม
Review
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษให้วาดภาพอย่างสร้างสรรค์
2. อธิบายงานรวมทั้งมีตัวอย่างที่หลากหลายให้ดู
3. ให้กลับไปสร้างสรรค์ผลงาน
กระบวนการขั้นตอนและผลงานที่สำเร็จ
ต่อเติมครึ่งวงกลม
การวาดลวดลายโดยแต่ละช่องไม่ซ้ำแบบกัน

การวาดโครงร่างสิ่งที่ชอบและเติมลวดลายจากภาพด้านบนลงบนภาพ
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. เพื่อฝึกและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
2. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
3. ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ให้ระบายสีออกนอกกรอบ
4.ได้ใช้จินตนาการและคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
5.คิดนอกกรอบและมีการแก้ปัญหา เช่น การคิดลายไม่ให้ซ้ำกัน ก็สามรถต่อเติมเส้นกับรูปร่างต่างๆรวมกันจนเกิดลายใหม่
6.ชื่นชมผลงานและถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงาน
ความรู้ที่ได้รับ
1. ภาพครึ่งวงกลม ส่วนมากทุกคนจะทำเป็นรูปสิ่งมีชีวิตถ่ายทอดออกมาจากความรู้สึกคุ้นเคยหรือจากสิ่งที่ชอบ ส่วนมากจะต่อเติมเป็นวงกลม ถ้าใช้กับเด็กเล็กสามารถใช้เป็นลักษณะเส้นอื่นๆได้
2. ภาพเส้น การที่ได้ออกแบบเส้นหมายถึงการออกแบบสิ่งที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ยิ่งช่องเยอะยิ่งทำให้เราคิดกว้าง ซึ่งการทำไม่มีผิด ไม่มีถูก  ขึ้นอยู่กับบุคคล ที่จะสื่อสารออกมา ซึ่งเราต้องถามคนวาด เพราะอาจจะเห็นต่างกัน
3. ภาพวาดโครงร่าง  ในความเป็นศิลปะ สามรถใช้เส้นต่างๆต่อเติมให้เหนือคามจริงได้ ยิ่งต่อเติมภาพจินตนาการ เหมือนได้สร้างจินตนาการขึ้นมาเรื่อยๆและเป็นความคิดที่นอกกรอบ
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. นำใบงานหรือกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
2. สอนเด็กเรื่องเส้นต่างๆได้
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังขณะอาจารย์สอน และไม่คุยขณะเรียน แต่งกายสุภาพ มีสัมมาคารวะต่ออาจารย์
ประเมินเพื่อน: มีเพื่อนเข้าห้องเรียนสาย แต่งกายถูกระเบียบ  มีบางส่วนเท่านั้นผิดระเบียบสม่ำเสมอ
ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพสีโทนเดียวกันดูดีเคร่งขรึม เตรียมอุปกรณ์การเรียนต่างๆและยกมาให้นักศึกษา เลยทำให้รู้สึกผิดเลยที่ไม่ได้ไปช่วยอาจารย์ยกของ การสอนอาจารย์สอนเนื้อหาที่ละเอียดมากและ เรื่องกว้างๆเกี่ยวกับศิลปะ ก่อนที่จะลึกซึ้งไปถึงศิลปะเด็กปฐมวัย