Welcome to the blog Ms. Arisara Phusit

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2  
(สัปดาห์ที่ 3)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่ 21,22 มกราคม พ.. 2558
            เนื้อหา 1. กิจกรรมมือน้อยสร้างสรรค์ การวาดภาพและเน้นเรื่องสี

ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษให้วาดภาพสร้างสรรค์โดยใช้มือ
2. ครูสาธิตโดยวาดมือให้ดูบนกระดานและอธิบายการลงสีโดยให้ลงช่องละ1สีในเส้นที่ตัดกัน และส่วนพื้นหลังทั้งหมดลงสีเดียวกัน
3. กำหนดเวลาให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ
4. ตั้งชื่อผลงานและให้นำผลงานมาติดหน้าห้องโดยมีครูช่วยติด
5. แกะผลงานที่ติดบนกระดานออก และนำมาตัดตามกรอบสี่เหลี่ยม
6. ให้เด็กนำผลงานมาติดบนบอร์ดเดียวกัน กลายเป็นศิลปะแบบร่วมมือ
วัตถุประสงค์หรือสิ่งที่เด็กได้รับ
1. เพื่อฝึกและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
2. พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาให้ประสานสัมพันธ์กัน
3. เรียนรู้เรื่องการตัดกันของเส้นและสี
4. ฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อไม่ให้ระบายสีออกนอกกรอบ
ความรู้ที่ได้รับ
1. เป็นกิจกรรมที่สามารถบูรณาการได้ทุกหน่วย
2. สามารถสร้างสรรค์ผลงานในหน่วยร่างกายได้ เช่น วันนี้เรียนรู้เรื่องการใช้มือ
3. เวลาให้เด็กทำอาจเริ่มจากเส้นง่ายๆหรือรูปทรงเลขาคณิต
4. สามารถนำศิลปะแบบเดี่ยว มาเป็นศิลปะแบบร่วมมือได้
5. การติดผลงานเด็กถือเป็นการชื่นชมผลงานเด็กก่อนที่จะนำมาเก็บใส่แฟ้ม
6. การจัดบอร์ดศิลปะสามารถให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน            
            เนื้อหา 2. เรียนความหมาย ทฤษฏีและพัฒนาการทางศิลปะ

ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของศิลปะ
     ศิลปะ ในอดีต หมายถึง งานช่างฝีมือที่มีความประณีต วิจิตรบรรจง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น แบ่งออกได้ 3ประเภท  คือ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม
     ดังนั้น ศิลปะ จึงหมายถึง ความงาม(ทั้งทางกายและใจ) รูปทรง และการแสดงออกที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงามและตอบสนองความพึงพอใจ
ศิลปะสำหรับเด็ก
     จึงหมายความได้ว่า  เป็นสิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งความเจริญเติบโต เป็นสิ่งที่มองเห็นได้แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง ไม่ใช่เพียงแค่วาดรูประบายสีหรือประดิษฐ์แต่หมายถึงการแสดงออก สื่อสาร ถ่ายทอดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนด้วย
ปรัชญาศิลปะ เป็นสิ่งที่ผู้สอนศิลปะให้เด็ก ควรยึดถือ ดังนี้
สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก  
เป็นผู้นำทางการแสดงออกและมีความคิดสร้างสรรค์
ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานของเด็ก
มีความไวรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิด จากสิ่งที่มองเห็น
เน้นความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงานโดยให้เด็กถ่ายทอด
-  สนับสนุนการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ            
ความสำคัญของศิลปะเด็กปฐมวัย                
1. ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย สิ่งที่เด็กชอบ สิ่งที่เด็กคิด ซึ่งผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้กำลังใจ
2. เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
3. ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ จากกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและสิ่งแวดล้อม
4. ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล เช่น เด็กพิเศษ
5. ช่วยเสริมสร้างกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
1.ทฤษฎีพัฒนาการ
   - พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์(Lowenfeld)  เขาได้แบ่งพัฒนาการทางศิลปะออกเป็น 4 ขั้นดูเพิ่มเติม
2. ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
- โครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ได้เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา ซึ่งว่าด้วยเรื่องความสามารถทางสมองทั้ง3มิติ  >1เนื้อหา /2วิธีคิด/3ผลของการคิด ที่แตกต่างกันถึง120ความสามารถ และการรวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดแบบอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทางนำไปสู่การริเริ่มคิดค้นสิ่งแปลกใหม่ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรม
- ความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์(Torrance) แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ  ความคิดคล่องแคล่ว  ความคิดยืดหยุ่น  ความคิดริเริ่ม และแบ่งลำดับความคิดเป็น5 ขั้น 1ค้นพบความจริง 2ค้นพบปัญหา 3ตั้งสมมุติฐาน 4ค้นพบคำตอบ 5ยอมรับผลการค้นพบ ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้คล้ายกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทอแรนซ์ จึงเรียกว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  
- ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ เป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจ นักการศึกษาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองมนุษย์ทั้ง2ซีกอย่างเท่าเทียมกัน ซีกซ้าย(ความมีเหตุผล)พัฒนาในช่วง9-12ปี  ,  ซีกขวา(คิดสร้างสรรค์จินตนาการ) พัฒนาในช่วง 4-7ปี สามรถจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมบูรณาการ เรียนรู้แบบ4MAT และทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ เป็นปัญญาในตัวบุคคลเฉพาะด้าน ซึ่งทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9ด้าน มากหรือน้อยต่างกันไป ปัญญาแต่ละด้านสามรถทำงานร่วมกันได้และมีความสามารถหลายอย่าง
- ทฤษฎีโอตา(AUTA) เดวิสและซัลลิแวน กล่าวว่าความคิดของมนุษย์สามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ เขาได้แบ่งขั้นพัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น คือ 1การตระหนัก 2ความเข้าใจ 3เทคนิควิธี 4ตะหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
พัฒนาการทางศิลปะ วงจรของการขีดๆเขียนๆ เคลล็อก(Kellogg) ศึกษาการขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย 4 ขั้นตอนดังนี้
1.การขีดเขี่ย (2 ขวบ) เขียนตามธรรมชาติ ขีดเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง ยุกๆยิกๆ ควบคุมไม่ได้
2.การเขียนเป็นรูปร่าง(3ขวบ) เริ่มเป็นรูปร่าง เขียนวงกลมได้แต่ยังไม่กลมมากนักควบคุมมือกับตาได้สัมพันธ์มากขึ้น
3.การเขียนวงกลมได้(4ขวบ) ขีดเขียนรูปร่างเข้าด้วยกันได้วาดสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมได้
4.การวาดแสดงเป็นภาพ(5ขวบขึ้นไป) เริ่มแยกแยะวัตถุได้ รับรู้ความเป็นจริง ควบคุมการเขียนได้ดี
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1.สามารถจัดประสบการณ์ให้ตรงกับพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงอายุ
2.สามารถนำทฤษฎีของทอแรนซ์ไปใช้ คือ ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจนแก้ปัญหาได้ หรือครูเป็นผู้กระตุ้นโดยใช้คำถามให้เด็กเกิดความคิดทั้ง 3 องค์ประกอบ
3.เมื่อเป็นครูในอนาคตจะใช้การสอนศิลปะแบบบูรณาการและดูกระบวนการทำงานของเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมและตั้งใจเรียน ในกิจกรรมวาดรูปมือ รู้สึกงง กับการระบายสีบ้าง และมีระบายช่องผิดในบางช่อง แต่ก็ภูมิใจกับผลงานและสิ่งที่ออกมา มีสีสันไปอีกแบบ และรู้สึกดีที่อาจารย์เดินมาดูคอยแนะนำ กิจกรรมนี้คิดว่าถ้าให้เด็กทำ เด็กก็คงจะชอบ / ในวันถัดมาที่เรียนทฤษฎีก็เตรียมพร้อม ปริ้นเอกสารสำหรับเรียนมา ตั้งใจจดบันทึกรายละเอียดที่อาจารย์อธิบายเพื่อให้จำได้ดี แต่ก็รู้สึกง่วงเล็กน้อยเนื่องจากเมื่อคืนอาจนอนดึกเกินไป
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งใจทำงาน มีความตื่นเต้น สนใจ ถ่ายรูปเก็บผลงานกันมากมาย ขณะที่ทำงานก็ต่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน ถามกัน  ส่วนในวันที่เรียนทฤษฎี ทุกคนก็จะโต้ตอบแซวอาจารย์กันอย่างสนุกสนานเหมือนเดิม แต่เหมือนจะเร่งรีบและอยากให้อาจารย์ปล่อยเร็วๆ การแต่งกายเพื่อนแต่งกายถูกระเบียบ มีบางคนเท่านั้นที่ใส่ชุดไม่ตรงตามข้อตกลง
ประเมินอาจารย์: มีการเตรียมกิจกรรม อุปกรณ์ต่างๆให้นักศึกษา ใช้เงินส่วนตัวถ่ายเอกสารใบงานมาให้ และสาธิตแจกแจงงานอย่างละเอียดดีค่ะ คอยเล่นมุกตลกอยู่ตลอดเวลา นักศึกษาไม่ขำก็เล่น 5555555  คอยสอดแทรกความหมายดีๆในการเรียนการสอน มีความหวังกับนักศึกษาเรื่องการเรียนและ เตรียมเนื้อหามาสอนแน่นมากๆๆๆค่ะ แม้จะง่วงแต่ก็ได้รื้อฟื้นเนื้อหาการเรียนวิชาศิลปะอีกครั้ง

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1  
(สัปดาห์ที่ 1 และ 2)
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์        ตุ๊หมาด
วัน/เดือน/ปี ที่  7,14,15 มกราคม พ.. 2558
หมายเหตุ: วันที่ 8 .. 2558 *ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ
            เนื้อหา 1.การปฐมนิเทศ แนะนำการเรียนการสอน
สิ่งที่ต้องเรียนในวิชานี้ คือ ความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การเลือกสื่อ การเก็บผลงาน นำเสนอผลงานแบบไฮสโคป การเขียนแผนจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย และประเมินพัฒนาการ ฯลฯ
ชี้แจง :
1. บันทึกการเรียนทุกครั้งลงBlogger สม่ำเสมอ  ครั้งละ 1 คะแนน
2. การสอบปลายภาค จะมีการเขียนแผนและสอบสอน
3. งานส่วนมากจะมีทั้งกลุ่ม/เดี่ยว เช่น การประดิษฐ์ผลงาน
ข้อตกลง :
1. แต่งกายให้เรียบร้อยข้อสรุป คือ >วันพุธใส่เสื้อสีชมพู วันพฤหัสใส่ชุดพละ
2. รักษาวินัย กริยา มารยาท อย่างเคร่งครัดในเรื่องของการตรงต่อเวลา
3. บัตรปั้ม ตรงต่อเวลา ปั้มไก่  / มาสาย ปั้มเสือ /  แต่งกายไม่ถูกระเบียบ ปั้มแกะ / เด็กดี  ปั้มดาว
4. งานกลุ่มต้องปฏิบัติตาม (เวลากิจกรรมปฏิบัตินำผ้ากันเปื้อนมาด้วย)
            เนื้อหา 2. เรื่อง การดู VDO .เด็ก ช.ช้าง
สิ่งสะท้อนจาก VDO : จากการดูวีดีโอ เริ่มแรกครูสั่งงานโดยไม่อธิบาย เขียนบนกระดานเพียงอย่างเดียว ไม่เดินดูเวลาเด็กทำงาน แสดงพฤติกรามดูถูกความสามารถของเด็ก ประณามเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ และทำให้เด็กรู้สึกกดดัน
ข้อคิดจาก VDO : ถ้าเป็นครูในอนาคตข้างหน้า ไม่ควรมีพฤติกรรมแบบนี้ ควรสั่งงานให้ชัดเจน และเดินดูกระบวนการทำงานของเด็กเพื่อจะได้เห็นความจริง และส่งเสริมชื่นชมให้เด็กเกิดความมั่นใจ
            เนื้อหา 3. กิจกรรมวาดภาพตนเองตามจินตนาการ
ขั้นตอนการสอน
1. แจกกระดาษวาดภาพระบายสี วาดภาพตนเองตามจินตนาการ
2. กำหนดเวลาให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานตามจินตนาการ
3. ระหว่างการทำงานเดินดูเด็กตลอดเวลา
4. แจกเทปและให้นำผลงานมาติดหน้าห้อง
5 ให้อธิบายผลงาน ตั้งชื่อผลงาน หรือทายภาพวาด
ความรู้ที่ได้รับ
1. การเป็นครูต้องบอกเด็กให้ละเอียดเมื่อต้องการให้เขาทำอะไรต้องอธิบายชัดเจน การที่จะสั่งงานต้องคำนึงถึงบริบททางสังคมและประสบการณ์เดิมของเด็กด้วย
2. การวาดรูปตามแบบใครไม่เรียกว่า จินตนาการ จินตนาการเป็นสิ่งที่เราเพ้อฝันสามารถเกิดได้จริงและไม่ได้จริงซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความหลากหลาย เช่น บางคนวาดตามความรู้สึก หรือดูแบบ ฯลฯ
3. ศิลปะเด็ก กับ ผู้ใหญ่แตกต่างกัน เพื่อนสามารถช่วยเพื่อนได้ บางครั้งครูก็ช่วยได้บ้าง และการที่เด็กลบ ไม่ใช่สิ่งผิด
4. ครูต้องเดินดูการทำงานศิลปะทุกอย่างเพื่อได้เห็นกระบวนการขั้นตอนของเด็ก และสังเกตพฤติกรรมด้านต่างๆ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นต้น
5. บางครั้งเด็กยังวาดรูปไม่เสร็จในเวลาที่กำหนด ก็สามารถให้ทำช่วงอื่นต่อได้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และคนไหนที่ไม่มาก็เปิดโอกาสให้ทำได้ในวันรุ่งขึ้น
6. การประเมินผลงานเด็กไม่ควรดูที่ความสวยอย่างเดียว ดูทั้งกระบวนการและความตั้งใจด้วย
7. การสอนศิลปะทำให้เห็นพัฒนาการของเด็กว่าเหมาะสมตามวัยหรือไม่และได้เห็นทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก เช่น  การจับดินสอ การวาดรูปตามแบบ
8. การติดผลงานให้ติดในระดับสายตาเด็ก ติดเทปด้านหลังให้แน่นลมไม่สามารถปลิวได้ ติดจากซ้ายไปขวา สอนให้เด็กติดตามลำดับและ จำนวนแถวละเท่าๆกัน เพื่อง่ายต่อการตรวจทาน
9. การทำผลงานศิลปะสามารถทำได้ทั้งแนวตั้งแนวนอน แต่ส่วนใหญ่ใช้แนวนอน เพื่อมีพื้นที่ในการเขียนคำบรรยายด้านล่าง
10. การใช้คำถามให้เด็กนำเสนอควรเป็นปลายเปิด  เช่น  เล่าให้คุณครูฟังหน่อยซิคะ ภาพที่หนูวาดเกิดอะไรขึ้น มีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กระตุ้นให้เด็กตอบเรื่อยๆ
            เนื้อหา 4. การตอบคำถาม P-Test

ผลงานกลุ่มหนูค่ะ
ขั้นตอนการสอน
1.ให้เด็กแบ่งกลุ่มละเท่าๆ กัน
2.ให้ออกไปรับอุปกรณ์ทีละคน (1คนต่อ1ชิ้น ไม่ซ้ำกัน)
3. แจกหรืออธิบายคำสั่ง
4. ให้เวลาทำและเดินดูการทำงานของเด็ก
5. เก็บอุปกรณ์และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
6. อธิบายเพิ่มเติมและใช้คำถามกระตุ้น
ความรู้ที่ได้รับ
1.เด็กทุกคนอยากมีส่วนร่วม ต้องคำนึงว่าเด็กมีตัวตน และให้เด็กได้ผลัดกันออกไปเอาของ
2.การที่แจกคำสั่ง > กระดาษ >และ(สี เป็นอันดับสุดท้าย) เพราะเป็นสิ่งที่เด็กเขียนได้ อาจจะอม หรือนำไปเล่นได้
3. ถ้าให้เด็กได้ทำงานกลุ่มก็จะเห็นความหลากหลายทางความคิด ฯลฯ
การนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้
1. ต้องประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
2. สามารถนำเทคนิคต่างๆของอาจารย์ไปใช้กับเด็ก
3. ปฏิบัติตนเป็นครูที่ดีในอนาคดซึ่งจะไม่เป็นแบบครูใน VDO
การประเมินผล
ประเมินตนเอง: มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังและปฏิบัติตามกฎระเบียบ รู้สึกดีใจและตื่นเต้นที่ได้เรียนกับอาจารย์เป็นครั้งแรก ได้ข่าวจากเพื่อนๆมาบ้างว่าอาจารย์ตรงต่อเวลาและงานเยอะ 555 แต่พอได้เรียนก็ได้อะไรหลายๆอย่าง เห็นรายละเอียดสิ่งเล็กๆน้อยๆมากยิ่งขึ้น และคิดว่าตนเองยังต้องฝึกการกล้าแสดงออกให้มากขึ้น เช่น การกล้าคิดกล้าทำ หรือนำเสนองานต่างๆ รวมทั้งฝึกเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์และนำเทคนิคต่างๆจากอาจารย์และเพื่อนไปพัฒนาตนเอง
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆแต่งกายถูกระเบียบ ส่วนมากจะเข้าเรียนตรงต่อเวลา มีเพียงบางคนเท่านั้นที่มาช้า การทำกิจกรรมในห้องเพื่อนๆร่วมมือกันเป็นอย่างดีและได้เห็นความคิดที่หลากหลาย บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน เพื่อนๆหัวเราะและพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์เป็นระยะๆ ทำให้ครื้นเครงดีค่ะ
ประเมินอาจารย์: อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย พูดคุยเป็นกันเองกับนักศึกษา เป็นแบบอย่างในการตรงต่อเวลา(5555) คอยอธิบายรายละเอียดต่างๆสอดแทรกอยู่เสมอ รวมทั้งมีเทคนิคการสอนที่แตกต่างจากท่านอื่น จะลงรายละเอียดทุกอย่างเพื่อให้สามารถเชื่อมโยง นำไปใช้กับเด็กได้จริง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนและใส่ใจงานของนักศึกษาด้วยการเดินดูเป็นระยะๆ